การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 19

Main Article Content

Waritsanan Uppamaiathichai

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่า (PNI Modified)  ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ผลการศึกษาการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ในสภาพที่เป็นจริง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.64) และผลการการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ในสภาพที่คาดหวัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.72)

  2. 2. ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 19 พบว่ามีความต้องการจำเป็นทุกด้าน โดยมีค่าPNIModified อยู่ระหว่าง 2467 ถึง 0.3475 ผลการจัดลำดับความต้องรายข้อที่พบว่ามีค่า PNIModifiedสูงที่สุด ตามลำดับความสำคัญ คือ 1) การใช้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มในกระบวนการผลิตการแสดง 2) การใช้เกณฑ์ง่ายๆ ที่กำหนดให้ในการพิจารณาคุณภาพการแสดงที่ชมโดยเน้นเรื่องการใช้เสียงการแสดงท่าและการเคลื่อนไหว และ 3) การอธิบายอิทธิพลของนักแสดงชื่อดังที่มีผลต่อการโน้มน้าวอารมณ์หรือความคิดของผู้ชม

 


 


      

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551.
กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
________. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564.
กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
________. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.
กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
โรงเรียนเลยพิทยาคม.(2557). ประวัติความเป็นมาและทิศทางของโรงเรียนเลยพิทยาคม. สืบค้น
8, มิถุนายน 2561 จาก http://www.loeipit.ac.th/about/thisthang-khxng-rongreiyn- ley-Phithyakhm.
ศิริพร อาจปักษา. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2558.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 1. (2559). รายงานการศึกษาความต้องการจำเป็นในการอบรมพัฒนา
ของครูในพื้นที่ศึกษาธิการภาค 1 : สำนักงานศึกษาธิการภาค 1.
สุวิมล ติรกานันท์. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ
: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2550).การประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row
Publication.