การศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถาบันสอนดนตรีเอกชนในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

อิศรากร พัลวัลย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสถาบันดนตรีเอกชนในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร/เจ้าของ และครู สถาบันดนตรีเอกชน 8 แห่ง ได้แก่ เซอนี่มิวสิค ธีระดามิวสิค บ้านดนตรี ฉัตรการดนตรี เปียโนสตูดิโอ ทองประเสริฐมิวสิคเฮาส์ บ้านครูตุ๋ย และมณีทองเปียโน จำนวน 23 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามการบริหารจัดการที่มีผลต่อการดําเนินงานของสถาบันดนตรีเอกชนในจังหวัดลําปาง และแบบสัมภาษณ์วิธีการบริหารจัดการของผู้บริหาร/ผู้ประกอบการ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ( .) ประกอบความเรียง


          จากสภาพทั่วไปด้านการบริหารจัดการหลักสูตรของสถาบัน หลักสูตรที่ใช้สอนเป็นหลักสูตรมาตรฐานสากลควบคู่กับหลักสูตรของสถาบัน อีกทั้งหลักสูตรยังมีความยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน คือ การเรียนดนตรีเพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลายจากการเรียนทางวิชาการในโรงเรียน นอกจากนี้ สถาบันดนตรีทั้ง 8 แห่ง ยังมีการติดตามผลความก้าวหน้าด้านการปฏิบัติของผู้เรียน โดยการจัดเวทีแสดงความสามารถอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


          ด้านบริหารจัดการบุคลากรในสถาบัน พบว่า ครูผู้สอนร้อยละ 69.6 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับดนตรี และร้อยละ 39.1 มีประสบการณ์ด้านการสอนในสถาบันดนตรีเป็นระยะเวลา 2-5 ปี ครูผู้สอนบางท่านยังมีความสามารถในการสอนทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด นอกจากนี้ ครูผู้สอนยังมีส่วนร่วมในการผลักดันผู้เรียนให้แสดงความสามารถทั้งการแสดงบนเวทีและการสอบวัดระดับมาตรฐานในหลักสูตรสากล สำหรับการจ้างงาน พบว่า ครูผู้สอนจะถูกจ้างงานแบบรายชั่วโมง


          ด้านการบริหารการจัดการสถานที่ พบว่า สถาบันดนตรีทั้ง 8 แห่งตั้งอยู่ในเขตชุมชน สามารถสัญจรไปมาได้สะดวก สำหรับเวลาทำการจะเปิดสอนทุกวัน โดยวันจันทร์ถึงศุกร์จะเปิดให้บริการในช่วงเย็น ส่วนวันเสาร์และอาทิตย์จะเปิดทั้งวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำคม เฉลยพจน์. (2537). เรียนดนตรีอะไรจึงจะเหมาะกับเด็กแต่ละวัย.วารสารเพลงดนตรี วิทยาลัยดุริยาง ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 1(3), 95.
จงรัก พุกกะณานนท์. (2542). หลักการสอนเปียโน. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
นภนันท์ จันทร์อรทัยกุล. (2537). เยาวชนไทยกับ การสอนเปียโน. เพลงดนตรี 1. (ฉบับที่2), 26-27.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:พัฒนาศึกษา.
รวิพร ผาด่าน. (2557). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
สร้างสรรค์การฉีก ตัดปะ เศษวัสดุ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศศิธร พุมดวง. (2548). ดนตรีบำบัด. สงขลานครินทร์เวชสาร, 23:(3), 185-191.
ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2554). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวณีย์ สังฆ์โสภน. (2548). ดนตรีเพื่อสุขภาพ. ปาฐกถาในงานประชุมวิชาการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก. 10 พฤศจิกายน 2558 (อัดสำเนา).
Hoy, Wayne K. & Furguson, Judith. 1985. Theoretical framework and exploration. Texas:
Business Publication.