การศึกษารูปแบบกิจกรรมของโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ‘TWINCLE Program’ เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองโลกและนานาชาติให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยชิบะ ประเทศญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. รูปแบบกิจกรรมของโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา TWINCLE Program 2. ผลการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา TWINCLE Program เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองโลกและนานาชาติให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยชิบะ ประเทศญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงที่ยินดีให้ข้อมูล คือ คณาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ดำเนินโครงการ 4 คน อาจารย์ชาวต่างประเทศที่ร่วมโครงการ 10 คน นักศึกษาและนักเรียนชาวญี่ปุ่น นักศึกษาชาวต่างชาติที่ร่วมโครงการ 30 คน รวม 44 คน ระยะเวลาที่ศึกษา 3 ปี (ค.ศ. 2017-2019) เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษาพบ 1). รูปแบบกิจกรรมของโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา TWINCLE Program เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองโลกและความเป็นนานาชาติให้กับนักศึกษาชาวญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยชิบะ เป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาชื่อว่า Twin college envoys (TWINCLE) ได้รับงบสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ ฯ และของมหาวิทยาลัยชิบะ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012-2019 มีรูปแบบ 4 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนของนักศึกษาชาวญี่ปุ่นไปเรียนรู้ยังมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกในอาเซียน 12 แห่งและนักศึกษาชาวต่างชาติที่สังกัดมหาวิทยาลัยสมาชิกในโครงการไปเรียนรู้ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ 2. การประชุมสัมมนาคณาจารย์ที่เป็นสมาชิกในโครงการที่ประเทศญี่ปุ่นทุกปี 3. กิจกรรมการนำเสนอผลงานเชิงวิจัยของนักศึกษา/นักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายด้วยภาษาอังกฤษ 4. กิจกรรมการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ปัญหาของโลกและการใช้ภาษาอังกฤษให้นักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายของโครงการ 2). ผลการดำเนินโครงการ พบว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองโลกและความเป็นนานาชาติ ส่งผลให้ ในปี 2019 มหาวิทยาลัยชิบะได้รับงบสนับสนุนจากรัฐบาลให้ดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายใต้ชื่อ Sakura Program กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจที่ร่วมโครงการเพราะได้สื่อสารภาษาอังกฤษและทำงานร่วมกับขาวต่างชาติที่เป็นสมาชิก ส่วนข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมด้วย การประยุกต์รูปแบบกิจกรรมนี้ไปใช้ในโครงการพัฒนานักศึกษาด้านความเป็นนานาชาติหรืออื่น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2560). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ: การจัดการข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
สำนักงานการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คุณลักษณะของบัณฑิตไทย. เข้าถึงจาก
https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=50496&Key=news_Teerakiat.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551. เข้าถึงจาก www.academic.obec.go.th/newsdetail.php?.id.
Bloom, D. (2004). ‘Globalization and Education: An Economic Perspective’. Globalization: Culture and Education in the new millennium. (edited). Suarez-Orozco., M. and Quin-Hilliard., D., London: The Ross Institute.
Hazri, J., Wan, C.D. and Ooi, PL. (2018). ‘Institutional Policies and Initiatives for Internationalization:
The Case of Two Malaysian Universities. Higher Education in Southeast Asia and Beyond (HESB), 4, 3-4.
Knight, J. (2008). Internationalisation of Higher Education in the 21 st century: Concepts, Rational, Strategies and Issues. (Cited in ) Globalization and Internatinalisation of Higher Education in Malaysia. (edited by Kaur, S., Sirat, Morshidi and Azman, N.). Pinang: Perpustakaan Negara Malaysia.
Nomura, J., Fujita, T., Oshima, R., and Yamato, M. (2018). Development and Evaluation of an ASEAN Student Acceptance Program in the Globalization Era. Journal of Science Education in Japan, 42(2), 112-119.
Tan, I. (2005). Internationalization higher education. Retrieved from http://eprints.usm.my/34211/1/BULLETIN_5_PART_2pdf.
Watanabe, M. (2019, February 16). Chiba University’s Global Program. In Takeshi Tokuhisa (Chair), Presenting on Globalization of Science Education Origination from Asia. Organized by the Faculty of Education, Chiba University.