การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

Main Article Content

Teewarin Ieamsuwan

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น เรื่อง พันธุกรรมและ        ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 45 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์ และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ บุญเกตุ. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ระบบนิเวศโดยใช้
รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์ รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น และรูปแบบการสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
ทวีรัชต์ ถนอมรอด. (2560). ครูวิทยฐานะชำนาญการ. [ธีวารินทร์ เอี่ยมสุวรรณ, ผู้สัมภาษณ์].
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2545). ผลการเรียนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียน.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมไทยวัฒนาพานิช.
ยุดาวดี สุขมาก. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ด้วย การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3), 213.
วลัย พานิช. (2542). การสอนด้วยวิธี Storyline ในเอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพ
การเรียนการสอน สำหรับครูประจำการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). ผลสอบ O-NET. (2557-2559). สืบค้น 30 เมษายน 2560, จาก https://www.niets.or.th/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือครูสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ:
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สมบัติ การจนารักพงศ์. (2549). เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธารอักษร
อรทัย มูลคำ และสุวิทย์ มูลคำ. (2544). Child Center: Storyline Method: การบูรณาการหลักสูตร และการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: พี.ที. พริ้น.