ปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ในเขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

กมล ศรีสุวรรณ
จรินทร์ ธรรมรักษ์
รุฮานี หมีนยะลา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนที่มีผลในการเลือกศึกษาต่อและเพื่อต้องการทราบเหตุผลในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ รวมทั้งศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลให้นักเรียนเลือกศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ในเขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลักษณะวิจัยเชิงสำรวจ (Survey  Research) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากกลุ่มประชากรทั้งหมด เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaires) วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


           ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 15 - 19 ปี และส่วนใหญ่ศึกษาในสาขาการบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและสาขาการตลาด ตามลำดับ โดยมากเลือกเรียนในสถานศึกษาวิทยาลัยเอกชนเพราะได้รับข้อมูลจากการแนะแนวของสถานศึกษา และผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลให้นักเรียนเลือกศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้ ด้านค่าเล่าเรียน การมีบริการกองทุนให้ผู้กู้ยืมการศึกษา (กยศ/กรอ) ภาพรวมค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.34 (S.D.=0.63) ด้านหลักสูตรและคุณภาพของสถานศึกษา มีสาขาวิชาที่น่าสนใจมากมาย ภาพรวมค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.33 (S.D.=0.59) ด้านจุดเด่นของสถานศึกษา สถานศึกษามีชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของสถานศึกษา ภาพรวมค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.32 (S.D.=0.54) ด้านทำเลที่ตั้งของสถานศึกษา มีรถประจำทางผ่านหน้าสถานศึกษา ภาพรวมค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.30 (S.D.=0.73) ด้านเครื่องแบบการแต่งกาย แบบฟอร์มมีความเรียบร้อยและดูดี ภาพรวมค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.17 (S.D.=0.63) และด้านบริการต่าง ๆ มีห้องคอมพิวเตอร์รองรับในการเข้าใช้ ภาพรวมค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.01 (S.D.=0.63) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การบริหารการจัดการและปรับกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้เรียนในการเลือกศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เตือนใจ อารีโรจนนุกูล. (2557). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตร

วิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. เข้าถึงจาก https://www.payaptechno.ac.th.

ณัฎฐพัชร์ มณีวรรณ และภานุวัฒน์ ศิรินุพงศ์. (2560). ปัจจัยส่งเสริมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 22 – 32.

น้ำทิพย์ เนียมหอม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่ออาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา (การค้นคว้าอิสระ). หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา แนวคิดทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เทียมฝ่าการพิมพ์.

ยุพา ไทยพิทักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาเอกชนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ หนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงจาก https://www.sasana.ac.th/2017/upfile/601/3_1.pdf.

รัตนา ศิริพานิช. (2535). หลักการสร้างแบบสอบวัดทางจิตวิทยาและทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทยการพิมพ์.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย=Research Methodology. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานจังหวัดราชบุรี. (2559). องค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสายอาชีพ

ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี (รายงานผลการวิจัย). ราชบุรี: ศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานจังหวัดราชบุรี กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน.

สมเกียรติ ขําสำราญ อดิศักดิ์ จันทรประภาเลิศ สิงห์ชัย บุญยโยธินและพีรวัฒน์ ชูเกียรติ. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดและภาพลักษณ์ของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ประเภทวิชาพาณิชยกรรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 5 (2), 99 - 111.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การศึกษาแนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. เข้าถึงจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1).เข้าถึงจาก http://www.vec.go.th.

อมรีภรณ์ สมจริง. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจศึกษาต่อสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.