ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2) ระดับความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จกับความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 4) สร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 260 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กำหนดสัดส่วนตามขนาดของกลุ่มประชากรในแต่ละสถานศึกษา และทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.957 สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 3.99, S.D. = 0.59) 2) ระดับความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.55) 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ระดับความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร (X10), ปัจจัยด้านบุคลากร (X5), ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X1) และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X9) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณในการทำนายเท่ากับ 0.843 สามารถพยากรณ์ความสำเร็จได้ร้อยละ 71.12 และค่าคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์เท่ากับ 0.299 ดังสมการพยากรณ์ต่อไปนี้ สมการรูปคะแนนดิบ Y' = 1.140 +.309X10 +.213X5 +.117X1 +.106X9 และ สมการรูปคะแนนมาตรฐาน Z'y = .373ZX10 +.275ZX5 +.150X1 +.142ZX9
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กฤษฎา การีชุม. (2554). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัยรัตน์ ต.เจริญ, จินตนา จันทร์เจริญ, เฌณิศา สุวรรณจินดา และวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเชียงราย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 432-440.
ดำรงเกียรติ วันทา. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 59. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ฉบับสำหรับเผยแพร่ (Public edition). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์สุวีริยา.
ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์เดอะบุคส์. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เดอะบุคส์.
วราภรณ์ ช่วยแก้ว. (2555). ปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่วิชาสามัญระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
วินัยพงษ์ คำแหง. (2553). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. เข้าถึงจาก http://nited.vec.go.th/Portals/25/images/PlanVec.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. เข้าถึงจาก http://bsq2.vec.go.th/document/แนวปฏิบัติประกัน/2.แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา%20ปรับครั้งที่%202.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา. เข้าถึงจาก http://bsq2.vec.go.th/document/แนวปฏิบัติประกัน/1(ปรับปรุง%2029%20ส.ค.61).pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). (2554). รายงานการประเมินคุณภาพ
ภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านอาชีวศึกษารอบ 3 (พ.ศ. 2554-2558). เข้าถึงจาก http://aqa.onesqa.or.th/SummaryReport.aspx
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970).Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.