การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามวิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับผังสัมพันธ์ ทางความหมาย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

นิภาพร ฟูใจ
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามวิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับผังสัมพันธ์ทางความหมายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดีก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับผังสัมพันธ์ทางความหมาย และเปรียบเทียบหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามวิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับผังสัมพันธ์ทางความหมายกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 10       ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวนนักเรียน 42 คน ซึ่งมาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก      ใช้เวลาทดลอง 9 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามวิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับผังสัมพันธ์ทางความหมายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1              มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด (  = 4.54, S.D. = 0.21)  ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดีด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามวิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับผังสัมพันธ์ทางความหมาย หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานต์ธิดา แก้วกาม. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบ SQ4R กับวิธีสอนแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จินตนา มั่นคง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาการศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชนิดา ทินา. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอน SQ4R และเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการอ่านจากต้นแบบและกลวิธีผังสัมพันธ์ของความหมายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต) ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

นุชรีย์ สอนสุวิทย์. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ผังสัมพันธ์ทางความหมายเรื่อง Weather สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาการศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ผุสดีพร จันตาใหม่. (2551). การใช้กิจกรรมผังความสัมพันธ์ทางความหมายเพื่อพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้ สาขาวิชาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เพลิดพิศ สุพพัตกุล. (2555). การพัฒนาการอ่านเชิงวิพากษ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกิจกรรม เอส คิว โฟร์ อาร์ (SQ4R) (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2553). คู่มือการอ่านคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: นวสาส์นการพิมพ์.

สมเกียรติ คู่ทวีกุล (ผู้บรรยาย). (10 มีนาคม 2562). พลวัตของศิลปะภาษา. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุทธิวรรณ พีรศักดิ์โสภณ. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการบรรยายการเขียนข้อสอบวัด “การคิดวิเคราะห์”. เข้าถึงจาก http://www.mathayom9.go.th/nitad/analyze/analytic.pdf.