รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

Main Article Content

สุประวีณ์ ทิพย์โพธิ์
ณรงค์ พิมสาร
สิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการและปัจจัยส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการด้วยการวิจัยเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ จำนวน 100 คน และปัจจัยส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีผลงานยอดเยี่ยม จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ได้ดำเนินการยกร่างและเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ 1) ทดลองใช้รูปแบบกับโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง และ 2) ประเมินรูปแบบด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และอรรถประโยชน์จากผู้ใช้ ได้แก่ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ จำนวน 57 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการ มีขอบข่ายหลัก 9 ด้าน โดยรวมโรงเรียนปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และปัจจัยส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ มี 6 ปัจจัย 2) ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่ามี 3 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ มี 9 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (2) กระบวนการบริหารงานวิชาการ มี 4 ประการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม (3) ปัจจัยส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สมรรถนะครู การทำงานเป็นเครือข่าย เทคโนโลยีสารสนเทศ ความร่วมมือของผู้ปกครอง และวัฒนธรรมองค์การ 3) ผลการประเมินรูปแบบจากการทดลองใช้ พบว่า โรงเรียนดำเนินการตามรูปแบบได้อย่างเป็นระบบและใช้ปัจจัยส่งเสริมการบริหารงานวิชาการที่โรงเรียนมีอยู่ค่อนข้างพร้อม ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สูงกว่าเป้าหมาย มีคุณค่าและคุ้มค่า ทำให้รูปแบบได้รับการยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีคุณภาพด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และอรรถประโยชน์ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คัมภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บัณฑิต ประสิทธิ์นอก (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น(ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

พระมหาสุทิน สุทิโน. (2556). การบริหารจัดการเครือข่ายเชิงพุทธของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษากลุ่ม 1 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิเชียร ศรีหาบุตร. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในสังคมอนาคต(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2559). การประกันคุณภาพการศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2561). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือการประเมินการรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2560). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2561–2562(พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม : โรงพิมพ์ตะวันออก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อมลรดา พุทธินันท์. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). การวางแผนการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed.). New York: Harper Collins.

Davis, G., & Thomas, A. M. (1989). Effective school and effective teachers. Boston: Allyn & Bacon.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Louis A. Allan. (1973). Professional Management. New York: McGraw-Hill.

Nastasi, B. K., and Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177–195.