การศึกษาระดับความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจำแนกตามเพศ แผนการเรียน และผลการเรียน 3) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยจำแนกตามเพศ แผนการเรียน และผลการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 191 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความเครียด แบบสอบถามวิธีเผชิญความเครียด และแบบสอบถามสาเหตุความเครียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการเปรียบเทียบด้วยสถิติค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมีความเครียดระดับสูง รองลงมาเครียดระดับรุนแรง และพบสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดคือ ด้านการเรียน และด้านบุคลิกภาพส่วนตัว 2) นักเรียนมีวิธีเผชิญความเครียดทั้ง 3 วิธี ต่างกันพบว่า นักเรียนใช้วิธีเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหาในระดับค่อนข้างสูง ใช้วิธีเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์และใช้วิธีเผชิญความเครียดแบบได้ประโยชน์น้อยในระดับค่อนข้างต่ำ 3) ความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียน จำแนกตามเพศ แผนการเรียน และผลการเรียน พบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่มีแผนการเรียนแตกต่างกันใช้วิธีเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์และใช้วิธีเผชิญความเครียดแบบได้ประโยชน์น้อยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). เข้าถึงจาก http://news.thaipbs.or.th/content/270173.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2562, 18 พฤษภาคม). จิตกังวลซึมเศร้า. ไทยโพสต์ x-cite, น. 5.
กีรติ ผลิรัตน์. (2557). ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครที่เรียนกวดวิชาเพื่อศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรหมมณี โฮชิน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาพลานามัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิทยากร เชียงกูล. (2554). จิตวิทยาความฉลาดและความคิดสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สายธาร.
วรพจน์ สถิตย์เสถียร. (2548). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับกลวิธีเผชิญความเครียดของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล และคณะ. (2542). การฆ่าตัวตาย:การสอบสวนหาสาเหตุและการป้องกัน (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย วัยรุ่น-วัยสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดา สวาทะนันทน์. (2559). ข่าวสารด้านวิชาการสรรสาระจากผู้อำนวยการโรงเรียน (พฤศจิกายน-มกราคม). เข้าถึงจาก http://www.satitcmu.ac.th/?option=mod.
ศักดา สวาทะนันทน์. (2560). ข่าวสารด้านวิชาการสรรสาระจากผู้อำนวยการโรงเรียน (มกราคม-มีนาคม). เข้าถึงจาก http://www.satitcmu.ac.th/?option=mod.
ศักดา สวาทะนันทน์. (2560). ข่าวสารด้านวิชาการสรรสาระจากผู้อำนวยการโรงเรียน (พฤศจิกายน-มกราคม). เข้าถึงจาก http://www.satitcmu.ac.th/?option=mod.
ศักดา สวาทะนันทน์. (2561). ข่าวสารด้านวิชาการสรรสาระจากผู้อำนวยการโรงเรียน (กุมภาพันธ์ –เมษายน). เข้าถึงจาก http://www.satitcmu.ac.th/?option=mod.
ศุภนิช สังฆวะดี. (2550). การศึกษาความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดขอนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2549 (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาสถิติประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาภัทร ทนเถื่อน. (2553). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หงษ์ศิริ ภิยโยดิลกชัย และคณะ. (2558). ความเครียด และการแก้ปัญหาความเครียดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
Dorain, B. G. (1987). Stress, immunity and illness-A review. Psychological Medicine, 17(2), 393-407.
Krejcie, R.V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.