การหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวรมงคล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวรมงคล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยผลการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวรมงคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวรมงคล มีทั้งหมด 4 ห้องเรียน จำนวน 120 คน มีการจัดผู้เรียนแบบคละความสามารถ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนวรมงคล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคความรู้และภาคปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซจากสูตร E1/E2 ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) การหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมทั้ง 6 ชุด มีคะแนนประสิทธิภาพเท่ากับ 76.50/78.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (2) คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤษดา หุ่นเจริญ. (2560). ชุดการสอนวิชาดนตรีเรื่องทักษะการฟังสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการประยุกต์แนวคิดของ ออร์ฟ โคดาย และดาลโครซ(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชยกฤต ขำเถื่อน. (2560). การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาดนตรีสากล ตามนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงรัตน์ วุฒิปัญญารัตนกุล. (2555). ผลของการใช้กิจกรรมดนตรีและเคลื่อนไหวตามแนวคิดดาลโครซที่มีต่อ ความสามารถทางสติปัญญาของเด็กอนุบาล(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
อรวรรณ บรรจงศิลป. (2559). การสอนดนตรีในระดับประถมศึกษา ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย).
Hensley, S. (1981). A Study Of The Music Achievement Of Elementary Students Taught By The Memphis City Curriculum Guide Students Taught By The Traditional Approach. America : The Louisiana State University And Agricultural And Mechanical College.
Pope, J. (2005). Dalcroze Eurhythmics Music Through Movement. WA: The University of Western Australia Press.