การวิเคราะห์รูปแบบการศึกษาวรรณกรรมค่าวของล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการศึกษาวรรณกรรมค่าวของล้านนา โดยวิเคราะห์จากวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมค่าวด้วยวิธีการต่างๆ จำนวน 15 เรื่อง จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย ใช้แนวคิดวิธีการศึกษาวรรณคดีท้องถิ่นของ บาหยัน อิ่มสำราญ ผลการศึกษาพบว่าวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมค่าวนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ การศึกษาแนวสร้างภาพรวมจำนวน 3 เรื่อง การศึกษาแนวเปรียบเทียบจำนวน 4 เรื่อง การศึกษาเฉพาะเรื่องจำนวน 6 เรื่อง การศึกษาเฉพาะประเด็นจำนวน 2 เรื่อง การศึกษาวรรณกรรมค่าวที่ผ่านมาพบว่ายังมีจำนวนน้อย และมีข้อจำกัดในเรื่องความหลากหลาย เพราะวรรณกรรมค่าวซออีกหลายเรื่องอยู่ในรูปแบบเอกสารชั้นต้นที่เป็นตัวอักษรล้านนา และยังไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง อีกทั้งผู้ที่ศึกษาวรรณกรรมไม่สามารถอ่านเอกสารชั้นต้นได้ทุกคน รูปแบบการศึกษาวรรณกรรมค่าวที่ควรเกิดขึ้นในอนาคต ควรมีการศึกษาจากเอกสารชั้นต้นมากขึ้น รวมไปถึงการศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมค่าวในแต่ละช่วงเวลา และการศึกษาวรรณกรรมค่าวร่วมกับศาสตร์ทางดนตรี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
จิราวดี เงินแถบ. (2537). หงส์หิน: การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและล้านนา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุฑามาศ มีชูวาส. (2549). การเชื่อมโยงความในค่าวซอภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉัตรยุพา สวัสดิพงษ์. (2517). ค่าวซอเรื่องเจ้าสุวัตร นางบัวคำ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมมหาบัณฑิต). แผนกวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี. (2557). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมค่าวซอเรื่องเศรษฐีหัวเวียง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาจารึกศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2555). วรรณกรรมท้องถิ่นเปรียบเทียบ. เชียงใหม่: แม็กซ์พริ้นติ้ง.
นิตยา มูลปินใจ. (2549). การวิเคราะห์คุณค่าวรรณกรรมคร่าวร่ำ 700 ปี เมืองเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บาหยัน อิ่มสำราญ. (2538). สถานภาพการศึกษาวรรณคดีท้องถิ่น. ใน สุกัญญา ภัทราชัย (บรรณาธิการ). วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ (หน้า 192-194). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2509). ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). แผนกวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประคอง นิมมานเหมินท์ และทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2521). ลานนาไทยคดี. เชียงใหม่: ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.
ประเสริฐ ณ นคร. (2540). ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับวรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. ใน พรรณเพ็ญ เครือไทย (บรรณาธิการ). วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา (หน้า 27). เชียงใหม่: สุริวงค์บุ๊คเซ็นเตอร์.
พระครูสถิตจิตตสังวร. (2545). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คร่าวร่ำคำสอนเจ้าราช (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระสมชาติ ฐิติปัญฺโญ. (2546). จริยธรรมพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมล้านนาเรื่องอ้ายร้อยขอด (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระสมพงษ์ วชิรเมธี. (2556). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอเรื่องจั๋นต๊ะฆา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ภัคพล คำหน้อย. (2561). ภาพลักษณ์เจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มะลิวัลย์ บูรณพัฒนา. (2530). การศึกษาวรรณกรรมค่าวฮ่ำทางวิทยุภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สดศรี ดอนน้อย. (2539). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่อง ก่ำกาดำ ฉบับล้านนา อีสาน และไทเขิน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภาวดี เพชรเกตุ. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบพระอภัยมณีฉบับล้านนากับพระอภัยมณีฉบับสุนทรภู่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สิงฆะ วรรณสัย. (2523). ปริทัศน์วรรณคดีลานนาไทย. เชียงใหม่: โครงการตำราคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสน่หา บุณยรักษ์. (2517). วรรณกรรมค่าวของภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). แผนกวิชามัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2516). วรรณกรรมลานนาไทยเรื่องหงส์หินของเจ้าสุริยวงศ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). แผนกวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.