การสร้างเครือข่ายพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎี การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นการก่อกำเนิดของโครงการและงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,600 โครงการ แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากพระราชอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่ได้ตรากตรำพระวรกายและพระสติปัญญา ทรงงานหนักเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกรไทยตลอดระยะเวลา 70 ปี เพื่อเป็นการสืบสานผลงานอันทรงคุณค่านี้ไว้ สถานศึกษาควรได้นำแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริไปพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาในส่วนที่เป็นรายวิชาเพิ่มเติม ด้วยการรวมตัวของสถานศึกษาหลาย ๆ แห่งที่มีเป้าหมายเดียวกันเป็นเครือข่ายช่วยกันพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นเยาวชนของชาติได้เรียนรู้ และนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตและการสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพในการพึ่งตนเอง สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและประเทศชาติต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กาญจนา บุญส่ง และ นิภา เพชรสม. (2556). ชุดฝึกอบรมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2555). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. วารสารการบริหารและพัฒนา.4(1), 192 – 207.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี. (2551). สารานุกรมพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จ- พระเจ้าอยู่หัวฯ ในรอบ 60 ปีแห่งการครองราชย์. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรประภา อัครบวร และประยูร อัครบวร. (2552). การบริหารงานภาครัฐ ในรูปแบบเครือข่าย (Governing by Network). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ก.พลพิมพ์ (1996).
น้านกฮูก. (2560). ฉันรักในหลวงสถิตในดวงใจตราบนิรันดร์(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แฮปปี้คิดส์.
ประยูร อัครบวร. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม. (Network Building and Participatory). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฝ่ายวิชาการ, สถาพรบุคส์. (2560). โครงการพระราชดำริหญ้าแฝก (The Votives Grass Project). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาพรบุคส์.
พัชรินทร์ จันทาพูน. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. เข้าถึงจาก www.ratchakitcha.soc.go.th>PDF.
ศักดิ์นิพน สว่างวงศ์. (2557). เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 14(2), 12 – 24.
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 20 จังหวัดชุมพร. (2560). แนวทางการเสริมทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพให้กับนักเรียน. (ม.ป.ท.).
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2540). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2542). ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สำลี รักสุทธี. (2554). เทคนิควิธีการเขียนหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เรืองแสงการพิมพ์.
อำนาจ สัมพันธ์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องหญ้าแฝกที่บ้านห้วยโสก ตามแนวทางพระราชดำริโดยใช้รูปแบบสวิปปา ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรบ้านห้วยโสก สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.