การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกรอบแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เยาวพา นันต๊ะภูมิ
ยุทธนา ชัยเจริญ
อโนดาษ์ รัชเวทย์

บทคัดย่อ

    งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์นี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามกรอบแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จำนวน 11 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจาก   1) แผนการจัดการเรียนรู้ เกี่ยวกับ อาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จำนวน 4 แผน รวม 10 ชั่วโมง 2) แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง สารอาหาร 3) อนุทินสะท้อนคิดของครู และ 4) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบนิรนัย โดยทำการตรวจสอบความเชื่อมั่นเทคนิค Double Checking และเทคนิคสามเส้า (Triangulation) ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกรอบแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งบทความนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ครูวิทยาศาสตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจะส่งเสริมให้นักเรียน มีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีระ ช้างแดง, เสารรัตน์ ภัทรฐิตินันท์ และภาณุ ตรัยเวช. (2557). การพัฒนาความเขาใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมร่วมกับการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์แบบชัดแจ้งเรื่อง ลมฟ้าอากาศ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 5, 137-145.

ปรัชญา จันตา. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พงศกร พรมทา และปิยรัตน์ ดรบัณฑิต. (2562). การศึกษาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกาปีที่ 4 เมื่อผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสตรีมศึกษา. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20, (น.1606-1616). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น .

พัดตาวัน นาใจแก้ว และวรวัฒน์ ทิพย์จ้อย. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ต่อความตระหนักและความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคม. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 4, 46-54.

มณีรัตน์ แทนพรมมา และสกนธ์ชัย ชะนูนันท์. (2558). ผลของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เรื่องสารนาโนในชีวิตประจำวันที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์, 26, 267-278.

เยาวพา นันต๊ะภูมิ, ยุทธนา ชัยเจริญ, พสุ ปราโมกข์ชน และอโนดาษ์ รัชเวทย์. (2562). การวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อนำมาออกแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 15, (น.499-509). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

รุ่งทิวา กองสอน, และพงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6, 50-64.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. เข้าถึงจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2560.pdf.

สุพิมล ศรศักดา. (2561). ศาสตร์แห่งพระราชากับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี, 2561, 136-145.

อรรญา จุ้ยนคร, ดวงเดือน สุวรรณจินดา และทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรธรณีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระแสงวิทยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่8, 277-286. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อโนดาษ์ รัชเวทย์, มัลลิกา ศุภิมาส และยุทธนา ชัยเจริญ. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การเรียนวิทยาศาสตร์ตามกรอบแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10, 41-55.

Haidar, J.K. (1997). Prospective Chemistry Teachers’ Conceptions of the Conservation of Matter and Related Concepts. Journal of Research in Science Education, 34, 181-197.

Richard, G., & Blades, D. (2000). Social Studies and Science Education: Developing World Citizenship Through Interdisciplinary Partnerships. Department of Secondary Education.

Yoruk, N., Morgil, I., & Secken, N. (2009). The effects of science, technology, society and environment (STSE) education on students' career planning. US-China Education Review, 6, 68-74.