การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่อง งานธุรกิจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนลำบุหรี่พวง สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง งานธุรกิจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคุณภาพในระดับดี 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาความพึงพอใจของครู และนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง งานธุรกิจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มทดลองนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ทั้งหมดจำนวน 9 คน และครูจำนวนทั้งหมด 7 คน โรงเรียนลำบุหรี่พวง สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ 3) แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง งานธุรกิจมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน 3) ผลการศึกษาความพึงพอของครู และนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
จันทร์จิรา มาใจ. (2560). การพัฒนาหนังสือดิจิทัล เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2542). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
วิทยา บาริศรี. (2562). นโยบาย 5 ข้อขับเคลื่อนและยกระดับการจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกทม. เข้าถึงจาก http://www.prbangkok.com/th/board/view.
วัชราภรณ์ เพ็งสุข. (2560). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32, 7-13.
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2555). คู่มือครูการงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สุทิน ชนะบุญ. (2549). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.
อวิรุทธ์ วิชัยศรี. (2561). การพัฒนาอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์แบบผสมผสาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 8, 53-62.
Bonk, C. J., & Graham, C. R. (Eds.). (2006). Handbook of blended learning: Global Perspectives, localdesigns. San Francisco. CA: Pfeiffer Publishing.
Gagne, Briggs & Wagar. (1974). The principles of instructional design (4th ed.). New York: Holt. 99-119.
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
Seels, B. and Glasgow, Z. (1998). Making Instructional Design Decisions. United States of America:
Merrill Publishing Company.