การพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Model-Eliciting Activities เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชุติกาญจน์ เหง้าชัยภูมิ
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Model-Eliciting Activities ให้คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 นักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Model-Eliciting Activities 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Model-Eliciting Activities ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 2 และ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 54.32 64.20 และ 76.95 ตามลำดับ อีกทั้งจากการประเมินพฤติกรรมการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์จากแบบประเมินพฤติกรรมและการสัมภาษณ์นักเรียนจากแบบสัมภาษณ์นักเรียน พบว่า นักเรียนสามารถระบุความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นในการแก้ปัญหาได้อย่างครบถ้วน และยังสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาทำการเชื่อมโยงกันได้อย่าง       สมเหตุผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

ฉัตรียา เลิศวิชา. (2557). พัฒนากระบวนการและทักษะการคิด Go. เชียงใหม่: ธารปัญญา.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บงกชรัตน์ สมานสินธุ์. (2551). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบอริยสัจ 4 ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประวิต เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยปฏิบัติการ Action research. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้าวิชาการ.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2561). วิจัยปฏิบัติการทางการเรียนการสอน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2558). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning: PBL). เข้าถึงจาก https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf.

วิฬาร์ เลิศสมิตพร. (2558). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนว MODEL-ELICITING ACTIVITIES ที่มีต่อความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรชัย ปราบงูเหลือม. (2560). การพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). เทคนิคการสอนและรูปแบบการเขียนข้อสอบแบบเลือกตอบ วิชาคณิตศาสตร์เบื้องต้น. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์และสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ausubel, D. P., & Robinson, F. G. (1969). School learning: An introduction to educational psychology. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Lesh, R., et al. (2000). Principles for Developing Thought-Revealing Activities for Students and Teachers. Research Design in Mathematics and Science Education. R. L. E. In A. Kelly. New Jersey, Lawrence Erlbaum Associates: 591-646.

NCTM. (1989). Illuminating NCTM’s Principles and Standards for School Mathematics. School Science and Mathematics, 101(6), 292–304.

Stohlmann, M. (2013). Integrated STEM Model - Eliciting Activities: Developing 21st Century Thinkers STEM Education: Room for Improvement.