การพัฒนาการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนโมบายแอพพลิเคชัน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) The development of constructivist learning on Mobile Appication to develop learning achievement on technology course.

Main Article Content

ภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ
อัครเดช พรหมชนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนโมบายแอพพลิเคชัน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนโมบายแอพพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนโมบายแอพพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนโมบายแอพพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) การเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนโมบายแอพพลิเคชัน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนโมบายแอพพลิเคชันที่ได้พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (x̄= 4.74, S.D.= 0.31) 2) ประสิทธิภาพของการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนโมบายแอพพลิเคชันอยู่ที่ 82.42/80.68 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน (x̄= 16.14, S.D.= 1.75) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄= 7.18, S.D.= 2.38) อย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์บนโมบายแอพพลิเคชันอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.53, S.D.= 0.31)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ และกระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ทิฏิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผ่าน เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงศ์นิธิศ ฤทธิพงศ์, นะสิทธิ์ โยระบัน และเนารุ่ง วิชาราช. (2559). การพัฒนาสื่อการสอนโมบายเลิร์นนิง วิชาอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16 และ การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบูรณ์ ครั้งที่ 3 “งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.

ภัทรพล ตันตระกูล. (2561). ผลการเรียนด้วยบทเรียนเอ็มเลิร์นนิง (M-learning) บนอุปกรณ์พกพา เรื่อง สถิติสำหรับ วิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สรุปผลที่สำคัญการใช้ไอทีของเด็กและเยาวชน พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2560). แนวโน้มคนไทยใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น. เข้าถึงจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/ActivityNSO/A24-05-60.aspx.html.

Fosnot, C.F. (1996). Constructivism: Theory, Perspectives and Practice. New York: Teacher College Press.

von Glasersfeld, E. (1987). Learning as constructive activity. The Construction of Knowledge Contributions to Conceptual Semantics, 307-333.