การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการเรียนรู้ระหว่างการเรียนการสอนแบบจำลอง สถานการณ์เสมือนจริงกับการเรียนการสอนแบบเดิมของนิสิตแพทย์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช: กรณีศึกษาการช่วยคลอดท่าก้น

Main Article Content

พิชญา สิริสุขุม
อรัญ ศิลาวรรณ
เบญจมาส มั่นอยู่

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการเรียนรู้ระหว่างการจำลองสถานการณ์เสมือนจริงกับการเรียนแบบเดิมของนิสิตแพทย์ชั้นคลินิก กรณีศึกษาการช่วยคลอดท่าก้น เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตแพทย์ชั้นคลินิก 28 คน โดยเข้าประเมินประสิทธิผลก่อนการเรียนรู้ จากนั้นจึงแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่ม 1 เข้ารับการเรียนแบบเดิม กลุ่ม 2 เข้ารับการเรียนการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง จากนั้นทั้ง 2 กลุ่ม เข้าประเมินประสิทธิผลหลังการเรียนรู้และทำแบบประเมินความคิดเห็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินก่อนการทดสอบและแบบประเมินหลังการทดสอบที่ออกแบบโดยผู้วิจัย และแบบสำรวจความคิดเห็นของนิสิตแพทย์ต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปอร์เซ็นไทล์ และทดสอบสถิติด้วยสถิติ t-test วิธีวิลคอกซันและแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนมัธยฐาน (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25;75) หลังการเรียนรู้ในกลุ่มการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง 79.50 (76;86.5) มากกว่ากลุ่มการเรียนแบบเดิม 77 (68;81.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.03 และหลังการเรียน นิสิตแพทย์ทุกคนให้ความคิดเห็นว่า การจำลองสถานการณ์เสมือนจริงทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีความมั่นใจและความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ดังนั้นผู้บริหารและอาจารย์แพทย์ควรสนับสนุนให้มีการเรียนรู้แบบการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทรงทรรศน์ จินาพงศ์, สุริยา จันทนกูล และ อานนท์ คงสุนทรกิจกุล. (2561). ลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2(2), 23-33.

ประภาพร ต่อโชติ และคณะ. (2558). ประสิทธิผลของหุ่นจำลองทางการแพทย์เพื่อการฝึกกำหนดตำแหน่งอิเล็กโทรดในการใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 ลีดมาตรฐานต่อความรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลหญิง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 27(1), 11-21.

วิภาดา คุณาวิกติกุล. (2548). การเรียนการสอนแบบจำลอง. เชียงใหม่: โชตนา.

สมจิตต์ สินธุชัย และกันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 29-38.

สมฤทัย ขำสาคร, อรุณยุพา ขันติยะ, กรวิทย์ อัครบัณฑิตสกุล และ ชัยกิจ อุดแน่น. (2562). ลีลาการเรียนรู้ของของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่รายวิชาสุขภาพและโรคของสตรี 1-2 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (แพทย์แนวใหม่ 5 ปี) มหาวิทยาลัยนเรศวร. เชียงรายเวชสาร, 10(2), 31-41.

Chakravarthy, B. et al. (2011). Simulation in medical school education review for emergency medicine. Western Journal of Emergency Medicine, 12(4), 461-466.

Dale, E. (1969). Audio-visual methods in teaching. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Jeffries, P.R., and J.M. Clochesy (2012) Clinical simulations: An experiential, student-centred pedagogical approach. In D.M. Billings and J.A. Halstead (eds) Teaching in nursing: A guide for faculty. (4th ed.) (pp. 352-68). St Louis MO: Sauders Elsevier.

Joseph, N. et al. (2015). Perception of simulation-based learning among medical students in south India. Annals of Medical and Health Sciences Research, 5(4), 247-52.

Hannah, M. et al. (2000). Planned caesarean section versus planned vaginal birth for breech presentation at term: A randomised multicentre trial. Lancet, 356(9,239), 1,375-1,383.

Kasatpibal, N., Sawasdisingha, P. and Whitney, J. (2016). Innovation of educational wound models for nursing student. International Journal of Evidence-Based Healthcare, 6(9), 101-109.

Landeen, J. and Jeffries, P. (2008). Simulation. Journal of Nursing Educator, 47(11), 487-488.

Piot, M.A. et al. (2018). Effectiveness of simulation in psychiatry for initial and continuing training of healthcare professionals: protocol for a systematic review. BMJ Open Journals, 8(7), 1-7.