ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการจัดการเรียนรู้ และเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการจัดการเรียนรู้ และเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน ได้มาจากสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) หลังเรียน นักศึกษามีทักษะในการจัดการเรียนรู้เฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ 3) นักศึกษามีเจตคติต่อวิชาชีพครู หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นทัต อัศภาภรณ์, สุนทรี คนเที่ยง, นิธิดา อดิภัทรนันท์, พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์ และสมเกียรติ อินทสิงห์. (2560). การวิเคราะห์ความสอดคล้องของกระบวนวิชากลุ่มวิชาชีพครูกับมาตรฐานความรู้ของคุรุสภา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและประกวดนวัตกรรมบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 1 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 1 สิงหาคม 2560, หน้า 1622 -1635.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(3), 37-52.
สมเกียรติ อินทสิงห์, ปทุมวดี ศิริสวัสดิ์, บุญรอด โชติวชิรา, สิระ สมนาม, ดวงหทัยรัฐ กาญจนรัชตพงศ์ และพิชญภณ ศรีนวล. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพของหลักสูตรและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(1), 33-40.
Arends, R. I. (2016). Learning to Teach. (10th ed.). New York: McGraw-Hill Education.
Bostock, S. & Baume, D. (2016). Professions and Professionalism in Teaching and Development. In D. Baume & C. Popovic (Eds). Advancing Practice in Academic Development (pp. 32-51). New York: Routledge.
Brandenburg, R., McDonough, S., Burke, J., and White, S. (2016). Teacher Education Research and the Policy Reform Agenda. In Brandenburg, R., S. McDonough, J. Burke and S. White (Eds.). Teacher Education: Innovation, Intervention and Impact (pp. 1-14). Singapore: Springer.
Lang, J. M. (2016). Small Teaching: Everyday Lessons from the Science of Learning. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
McMillan, J. & Schumacher, S. (2014). Research in Education: Evidence-Based Inquiry (7th ed.). England, Essex: Pearson Education Limited.
Oliva, P. F., & Gordon II, W. R. (2013). Developing the Curriculum (8th ed.). Singapore: Pearson Education South Asia Pte Ltd.
Ornstein, A. C., and Hunkins, F. P. (2014). Curriculum Foundations, Principles, and Issues (6th ed.). USA: Pearson Education Limited.
Pescarmona, I. (2016). Status Problem and Expectations of Competence: A Challenging path for Teachers. In W. Jolliffe (Ed.), Learning to Learn Together: Cooperation, Theory, and Practice (pp. 26-35). Oxon, OX: Routledge.