แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารในการพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา ในการพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและครู 311 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 8 คน และการประชุมกลุ่ม (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คนโดยทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาในภาพรวม แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า การนำ (การมีภาวะผู้นำ)อยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และการพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมพบว่า ด้านกายภาพ อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า 2.1 กระบวนการบริหารทั้ง 4 ด้านมีแนวทางพัฒนาคือ1) การนำ (การมีภาวะผู้นำ): การเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) การจัดองค์การ: การปรับกระบวนทัศน์ในการบริหารสถานศึกษา การกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ของบุคคลในการรับผิดชอบงานด้านคุณธรรม จริยธรรม 3) การควบคุม: จัดระบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล การให้คำปรึกษา เกี่ยวกับงานด้านคุณธรรม จริยธรรม 4) การวางแผน: การทำความเข้าใจในนโยบาย การวางแผนการปฏิบัติงาน ด้านคุณธรรม จริยธรรมและการจัดการเรียนการสอนของครู 2.2 แนวทางการพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมทั้ง 6 ด้านคือ 1) ด้านกายภาพ: จัดสภาพโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านการจัดหลักสูตร: ปรับปรุงและพัฒนาการจัดหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 3) ด้านการเรียนการสอน: มุ่งปลูกฝังพื้นฐานทางสังคมและจิตวิทยา การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ในการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม 4) ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์: การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้บริหารกับครู ครูกับนักเรียน โรงเรียนกับผู้ปกครอง โรงเรียนกับชุมชน 5) ด้านการบริหารจัดการ: กำหนดทิศทางการปฏิบัติงานในการพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง 6) ด้านการประเมินผล: กำหนดรูปแบบการนิเทศภายใน การจัดการเรียนการสอน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). นโยบายโรงเรียนคุณธรรม. เข้าถึงจาก https://www.kroobannok.com/81394.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2559-2564).เข้าถึงจาก www.dra.go.th.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1จัดโดยคณะครุศาสตร์ ณ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. เข้าถึงจาก
http://conference.edu.ksu.ac.th/file/20160809_2488101126.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2558). กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรม. สัมภาษณ์, 7 สิงหาคม 2558.
ไทยรัฐออนไลน์. (2560). ขับไล่ ผอ.โรงเรียนอ้างเบิกจ่ายเงินทุจริต. เข้าถึงจาก www.thairath.co.th/news/local/858825.
นิพัฒน์ มณี. (2563). ถอดบทเรียนโรงเรียนสุจริต. ในการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและ
ธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ 2563. จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 4. เข้าถึงจาก www.obec.go.th.
นิรัชกร ทองน้อย. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประภาพร จันทรัศมี. (2559). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำ สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ รุจิรา. (2562). บทบาทผู้บริหารในการพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. สัมภาษณ์, 11 ธันวาคม 2562.
ศิริวรรณ กันศิริ. (2559). การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 ,(น.32-40).กำแพงเพชร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ศรีศักดิ์ ไทยอารี และคณะ. (2557). การศึกษาวิจัยเปรียบเทียบการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของประเทศในกลุ่ม อาเซียน. เข้าถึงจาก http://www.moralcenter.or.th/ewt_dl_link.php?nid=1214.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2558). กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรม. สัมภาษณ์, 25 สิงหาคม 2558.
สุธันยชนก ทรัพย์ย้อย. (2558). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562.เข้าถึงจาก www.petburi.go.th › web.
วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล.(2562). การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำ
นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
Best, J.W. (1970). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Bukkapaptnam, M. (2015). Development Self-Discipline. Retrieved from www.studygs.net/discipline.htm.
Cave, L.J. (1992). The Urban Elementary Principle as an Instructional Supervision Elementary Principle, Supervision. Dissertation Abstracts International, 5(3), 996.
Cronbach, L.J. (1984). Essential of Phychological Testing. New York: Hamper and Row Publisher.
Edward, C.H. (2000). The Moral Dimensions of Teacher and Classroom Discipline. American Secondary Education, 28(3), 20-25.
Glickman, C. D, Godon. S.P., & Jovita, M. R. (2001). Supervision and Instructional leadership developmental approach. Boston: Allyn and Bacon.
Harris, Ben M. (1963). Supervision Behavior Education. Taxas: University of Taxas Press.
Hanson. (1996). Education Administration and Organization Behavior. Boston: Allyn and Bacon.
Hoy, Wayne. K. & Furguson, Judith. (1985). Educational Administration: Theoretical framework and
exploration. Texas: Business Publication.
Krejcie, R, V., & Morgan, D, W. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Education and
Psychological Measurement, 30, 607-610.