การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

รัตนมน เกษจุฬาศรีโรจน์
ยศวีร์ สายฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร และ (2) เปรียบเทียบสภาพการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบจากข้อมูลเชิงสถิติที่ได้จากแบบสำรวจประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาที่ได้จากการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ตัวอย่างในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนทั้ง 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสำรวจการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา และ (2) แบบสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา โดยผลการวิจัยพบว่า ครูมีการปฏิบัติงานที่ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.54, SD = 0.39) รองลงมาคือด้านการสังเกตพฤติกรรมและประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก (M = 4.42, SD = 0.47) ด้านการชี้แนะโดยตรงเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการปรับตัว (M = 4.41, SD = 0.39) และด้านการเป็นแบบอย่างในการประพฤติตนสำหรับเด็ก (M = 4.28, SD = 0.36) อยู่ในระดับมาก และครูมีปฏิบัติงานที่ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม ด้านการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างอิสระน้อยที่สุด (M = 4.03, SD = 0.44)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และกมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ. (2561). รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากอนุบาลศึกษาถึงประถมศึกษา.

เข้าถึงจาก http://www.pecerathailand.org/2018/10/1795.html.

เบญจมาศ นุ่มวัฒนะ. (2561). รอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาปีที่ 1.เข้าถึงจาก http://kri2.esdc.go.th/bthkhwam/rxycheuxmtxrahwangkarsuksaradabpthmwaykabradabprathmsuks apithi1.

ยศวีร์ สายฟ้า. (2557). รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา: ก้าวย่างที่สำคัญของเด็ก ประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 42(3), 143-159.

Dunlop, A. W., & Fabian, H. (2007). Informing transitions in the early years. United Kingdom: McGraw-Hill.

International School Association of Thailand. (2014). International School Curriculum. Retrieved from https://www.isat.or.th/education-systems.