การใช้ชุดการเรียนรู้ที่อิงการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนามโนมติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เกี่ยวกับพันธะเคมี

Main Article Content

ชิดชนก ไชยยะ
สุทธิดา จำรัส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ที่อิงการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนามโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เกี่ยวกับพันธะเคมี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ที่เรียนหลักสูตรวิทย์-คณิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งหมด 20 คน ซึ่งได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เนื้อหาที่ใช้จัดกิจกรรมและจัดการเรียนรู้คือ เรื่อง พันธะเคมี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  ชุดการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี จำนวน 3 ชุด แบบวัดมโนมติ เรื่อง พันธะเคมี จำนวน 20 ข้อ พร้อมให้นักเรียนอธิบายเหตุผลในการเลือกตอบผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ที่อิงการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนามโนมติเกี่ยวกับพันธะเคมี มีมโนมติเกี่ยวกับพันธะเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนแบบวัดมโนมติของนักเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 18.00 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 42.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียนมีค่า เท่ากับ 9.45 และหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 6.45 โดยนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ จากระดับความไม่เข้าใจ (NU) ไปสู่ระดับความเข้าใจที่ถูกต้อง (PU) คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของจำนวนคำตอบที่มีการเปลี่ยนแปลง จากระดับความเข้าใจคลาดเคลื่อน (AC) ไปสู่ระดับความเข้าใจที่ถูกต้อง (PU) คิดเป็นร้อยละ 63.64 ของจำนวนคำตอบที่มีการเปลี่ยนแปลงจากระดับความเข้าใจคลาดเคลื่อน (AC) ไปสู่ระดับความเข้าใจที่ถูกต้องมากที่สุด (CU) คิดเป็นร้อยละ 1.65 ของจำนวนคำตอบที่มีการเปลี่ยนแปลง และจากระดับความเข้าใจคลาดเคลื่อน (PS) ไปสู่ระดับความเข้าใจที่ถูกต้องมากที่สุด (CU)  คิดเป็นร้อยละ 33.88 ของจำนวนคำตอบที่มีการเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรองกาญจน์ อรุณรัตน์. (2536). ชุดการเรียนการสอน. เชียงใหม่: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกียรติมณี บำรุงไร่. (2553). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประถมพร โคตา. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และการเขียนผัง มโนมติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ปวีณ์สุดา จำรัสธนสาร. (2556). การปรับเปลี่ยนความเข้าใจมโนมติเรื่อง สารในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยใช้การอุปมาร่วมกับตั๋วออก (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิไลรัตน์ กลิ่นจันทร์. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ (สารนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณทิต (การมัธยมศึกษา)).สาขาวิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีบุญตาม โจมศรี. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะ หาความรู้ (5E) ร่วมกับแผนผังมโนมติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมจิต ผอมเซ่ง และคณะ. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 10, 160–173.

อดุลย์ คำมิตร. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนที่เน้นวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และเทคนิคเอสคิวสามอาร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์หลักสูตรและการสอนมหาบัณฑิต). ภาควิชาการจัดการเรียน สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

American Association for the Advancement of Science ,Project 2061.(1989). Science for all Americans.

Washington DC: American Association for the Advancement of Science.

Fulya Oner Armagan et al. (2010). Effectiveness of conceptual change texts : a Meta analysis.

Procedia Social and Behavioral Sciences, 9, 1574-1579.

Gulcan, Çetin. (2003). The effect of conceptual change instruction on understanding of ecology concepts. Turkey: the graduate school of natural and applied sciences of The Middle East Technical University.

Geban, Bayir. (2000). Effect of conceptual change approach on students’ understanding of chemical change and conservation of matter. Hacettepe Universitesi Egitim Fakultesi Dergisi, 19, 79-84.

Kinger, Geban. (2012). Effect of conceptual change approach on students’ understanding of reaction rate concept. H. U. Journal of Education, 43, 306-317.