ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนเกี่ยวกับการหักเหของแสง เรื่อง ลึกจริง ลึกปรากฏ

Main Article Content

จิราพร ใจแสน
แสงกฤช กลั่นบุศย์
ขวัญ อารยะธนิตกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เรื่อง ลึกจริง ลึกปรากฏ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 49 คน โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบทดสอบวัดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจำนวน 3 ข้อ เป็นแบบอัตนัย ซึ่งมีลักษณะการตอบคำถามโดยใช้การลากเส้นทางเดินของแสงจากวัตถุเข้าสู่ตา ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา 3 ประเด็นคือ 1) การเกิดภาพลึกจริง ลึกปรากฏ ในกรณีที่วัตถุอยู่ในน้ำและผู้สังเกตอยู่ในอากาศเหนือผิวน้ำ   2) การเกิดภาพลึกจริง ลึกปรากฏ ในกรณีที่วัตถุอยู่ในน้ำและเปลี่ยนตำแหน่งผู้สังเกตที่อยู่ในอากาศเหนือผิวน้ำ 3) การเกิดภาพลึกจริง ลึกปรากฏ ในกรณีที่วัตถุอยู่ในอากาศและผู้สังเกตอยู่ใต้ผิวน้ำ จากการศึกษาพบว่านักเรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการลากเส้นทางเดินของแสงจากวัตถุเข้าสู่ตาเพื่อระบุตำแหน่งภาพลึกจริง ลึกปรากฏ กรณีวัตถุอยู่ในน้ำและผู้สังเกตอยู่ในอากาศเหนือผิวน้ำ กรณีวัตถุอยู่ในน้ำและเปลี่ยนตำแหน่งผู้สังเกต และกรณีวัตถุอยู่ในอากาศและผู้สังเกตอยู่ใต้ผิวน้ำ คิดเป็นร้อยละ  83.7, 24.5 และ 8.2 ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปสู่การเข้าใจที่ถูกต้องและจำเป็นต่อการเรียนรู้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์, เพ็ณจันทร์ ซิงห์ และวรรณทิพา รอดแรงค้า. (2548). การสำรวจแนวคิดของนักศึกษาครูวิชาเอกฟิสิกส์ชั้นปีที่ 3 เกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 1, 46-69.

ชาญวิทย์ คำเจริญ. (2562). การศึกษาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องพลังงานและโมเมนตัมโดยใช้แบบทดสอบความเข้าใจเรื่องพลังงานและโมเมนตัม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25, 1-10.

ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์ และวรรณทิพา รอดแรงค้า. (2552). การสำรวจมโนทัศน์เรื่องแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14, 310-315.

นุจรีย์ มณีจันทร์ และโชคศิลป์ ธนเฮือง. ( 2554). การพัฒนาชุดการทดลองการหักเหของแสง เรื่อง ลึกจริง ลึกปรากฏ เพื่อพัฒนาทักษะการทดลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ใน การประชุมวิชาการการวิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 3 (น.41-45). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

ลือชา ลดาชาติ, สุนิสา ยะโกะ และหวันบัสรี วาเด็ง. (2557). ความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เกี่ยวกับการเขียนแผนภาพรังสีของแสง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6, 109-121.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. เข้าถึงจาก http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports/2015.

สมศักดิ์ เพ็ชรัตน์, รศ.ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา และรศ.ดร.สุรศักดิ์ เชียงกา. (2557). การศึกษาแนวคิดคลาดเคลื่อนในวิชาฟิสิกส์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. เข้าถึงจาก http://www.northern.ac.th/north_research/p/document/ file_14919687980.docx.

สายสุณี ดีผาด. (2560). การพัฒนาความเข้าใจเรื่องการหักเหของแสงสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Suleyman, A., & Mehmet, A. (2012). Establishment for misconception that science teacher candidates have about Geometric optics. The online Journal of New Horizons in Education, 2, 7-15.

Keawkong, K., Mazzolini, A., Emarat, N. & Arayathanitkul, K. (2010). Thai high-school students’ misconception about and models of light refraction through a planar surface, Physic Education, 45(1), 97-107.

Mustafa, S.K. & Mehmet, K. (2010). Investigation of Conceptual Change About Double-slit Interference in Secondary School Physics. International Journal of Environmental & Science Education, 5, 435-460.