การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบตามแนวคิด STEM Education เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของนักศึกษาครู

Main Article Content

วิชญาพร อ่อนปุย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM Education และความคิดเห็นด้านทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM Education เพื่อทบทวนและวิเคราะห์ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบตามแนวคิด STEM Education เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของนักศึกษาครูหลังได้รับการจัดกิจกรรม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM Education กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ห้อง 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการพิจารณาโดยการทดสอบ  t–test  Dependent samples


 ผลการวิจัยพบว่า 1.การสอบถามความคิดเห็นด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM Education และด้านทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ จากอาจารย์ผู้สอน ครูพี่เลี้ยง และนักศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นต่อลักษณะการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด STEM Education มากที่สุด และเห็นว่ามีความสำคัญ/ต้องการให้ส่งเสริมมากที่สุด ประเด็นทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เห็นว่ามีความสำคัญ/ต้องการให้ส่งเสริมในระดับมากที่สุด 2.ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าหลังดำเนินกิจกรรมนักศึกษามีทักษะแก้ปัญหาและการตัดสินใจสูงขึ้น โดยการออกแบบ นักศึกษาใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยศึกษา สืบค้นขั้นตอนจากหลายแหล่งข้อมูล เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงสามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจเลือกปฏิบัติจนสำเร็จ  3.ผลการทบทวนขั้นตอนการจัดกิจกรรม ผู้วิจัยได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้มีความชัดเจนในกระบวนการ คงไว้ 7 ขั้นตอนพร้อมทั้งปรับคำนิยามเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น 4.ผลการเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของนักศึกษาครู ก่อนการจัดการเรียนรู้ นักศึกษาทำการประเมินตนเองมีผลอยู่ในระดับปานกลาง และหลังทำการประเมินซ้ำ มีผลการประเมินตนเองสูงขึ้น รวมถึงผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากครูพี่เลี้ยง และอาจารย์ผู้สอน พบว่าผลการประเมินหลังการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีผลการประเมินโดยภาพรวมสูงขึ้น 5.ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.

กองนโยบายและแผน. (2559). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ พ.ศ.2560-2564. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

จักรพงษ์ สุวรรณรัศมี. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรูปแบบ Backward Design (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).สาขาวิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดุษฎี นรศาศวัต. (2561). การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เอกสารประกอบการอบรมผู้นำด้านการบริหารงานป้องกันควบคุมโรค รุ่นที่ 4. นครสวรรค์: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3.

พรชัย เจดามาน. (2559). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21. เข้าถึงจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/jedaman.

ภารดี สงวนศิลป์. (2553).การศึกษาความสามารถในการตัดสินใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 66-71.

มณฑา จำปาเหลือง และคณะ. (2559). กระบวนการสอนคิดเชิงเหตุและผล สู่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คู่มือการพัฒนาทักษะการคิดเชิงเหตุและผล โครงการ การจัดการความรู้ครูต้นแบบ. กรุงเทพฯ: เครือข่ายวิจัยภูมิภาคมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มารุต พัฒผล. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(3), 682-699.

รัตติกาล สารกอง. (2551). ปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาตอระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักเรียน ในเขตพื้นที่สูงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานาน เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชญาพร อ่อนปุย. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM Education เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาการศึกษาปฐมวัย.เพชรบูรณ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

วิไลลักษณ์ ลังกา. (2560). กระบวนการบ่มเพาะคุณลักษณะครูไทยในทศวรรษการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครูครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์. วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 247-266.

ศุวิมล เสริมสุข. (2556). ทักษะการตัดสินใจ. เข้าถึงจาก https://www.gotoknow.org/posts/170502.

สายชล สุกร. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สิริญ์ลดาฌ์ เกียรติทวี. (2560). การจัดการเรียนรู้จากงานของพ่อเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และประสบการณ์การเรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยสะเต็มศึกษา(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สะเต็มศึกษา สรุปผลการประชุมโต๊ะกลมไทย–สหรัฐฯ ด้านการศึกษา ครั้งที่ ๗วัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับกำลังคนในศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2018). STEM Education. นิตยสารพัฒนาความรู้และความคิดสร้างสรรค์, 2(9), 3-9.

Bruning, R., Schraw, G.,Norby, M. & Ronning, R. (2004). Cognitive psychology and instruction (4 th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: MerrillPrentice Hall.