การเรียนรู้ถึงที่มาและความสำคัญของประเพณียี่เป็งล้านนาและประเพณีลอยกระทงไทย ผ่านมุมมองด้านมานุษยวิทยาและโบราณดาราศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาที่มาและความสำคัญของประเพณียี่เป็งล้านนา และ ประเพณีลอยกระทง ทั้งทางด้านมานุษยวิทยาและด้านดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการอพยพหลักจากสองชาติพันธุ์ ได้แก่ 1) ชาวไตจากประเทศจีนมายังอาณาจักรล้านนาตอนเหนือของไทยและ 2) ชาวมอญจากเมืองกลิงคะ (ปัจจุบันคือ รัฐโอริสสา ประเทศอินเดีย) มายังอาณาจักรโบราณในบริเวณตอนกลางถึงตอนใต้ของไทยและขอมโบราณ ทั้งสองกลุ่มได้นำเข้ามาทั้งความเชื่อ ศาสนา จารีตประเพณี ภาษา และปฏิทิน การสืบค้นพบร่องรอยสำคัญ คือชาวไตล้านนา เรียกระบบหนไทว่า “แม่ปีและลูกปี” ซึ่งคล้ายกับที่ใช้ในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน ยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า พบว่ามีเทศกาลเซี่ยหยวนเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำ ในวันเพ็ญเดือน 10 ของจีน (เดือน 12 ของไทย) ตรงกับประเพณีลอยกระทง ชื่อ “ลอยกระทง” เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสมัยสุโขทัยเรียก “ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ” ตรงกับวันตรุษปีใหม่ตามปฏิทินมหาศักราชที่เคยใช้ทั้งอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยารวมถึงขอมโบราณ โดยนับเอาวันเพ็ญเดือนกฤตติกาในการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ นอกจากนี้ยังพบว่ากระทงประดิษฐ์ทรงดอกบัวที่นำมาใช้บูชาพระแม่คงคา อาจจะเป็นการผสมผสานความเชื่อประเพณีทั้งลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธจากจีนกับศาสนาฮินดูประเพณีบาหลียาตราจากเมืองกลิงคะ เหตุที่วันเพ็ญเดือนกฤตติกาได้ถูกนำมาเกี่ยวข้องกับเทศกาลปีใหม่ของคนสมัยโบราณ ทางด้านดาราศาสตร์ พบว่าก่อนยุคพระเวท (1500 – 600 ปีก่อนคริสตศักราช) เมื่อดวงจันทร์เต็มดวงอยู่ในฤกษ์กฤตติกา หรือกลุ่มดาวลูกไก่ขณะที่ดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีพิจิกจะตรงกับวันศารทวิษุวัต ที่สำคัญวันเพ็ญเดือน 12 ได้ถูกนำมาใช้ในการปรับปฏิทินจันทรคติให้สอดคล้องกับปีสุริยคติ เป็นการตรวจสอบปีอธิกมาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กรมศิลปากร. (2555). ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
โขมสี แสนจิตต์. (2553). การศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชยจากหลักฐานโบราณคดี. ดำรงวิชาการ, 9(1), 33–50.
จตุพล คำปวนสาย. (2563). พันธุศาสตร์กับการตามรอยบรรพชน: ดีเอ็นเอแห่งล้านนา. เชียงใหม่: สมสิบ คราฟท์.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พ. (2463). เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย.
โจว ต้ากวาน. (2543). บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ [真臘風土記] (เฉลิม ยงบุญเกิด, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: มติชน.
มณี พยอมยงค์. (2547). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.
ยุทธพร นาคสุข. (2548). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์สุริยยาตรฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา และฉบับไทลื้อ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต). สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2552). ปฏิทินจีนโบราณ: ที่มาของปฏิทินไทยโบราณ “ปีหนไทย.” ภาษาและภาษาศาสตร์, 28(1), 34–52.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2558). ลอยกระทง, เห่เรือ มาจากไหน? ใน พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (บรรณาธิการ). ลอยกระทง เรีอพระราชพิธี วัฒนธรรมนํ้าร่วมราก (น.11–28). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
ฮันส์ เพนธ์, พรรณเพ็ญ เครือไทย และ ศรีเลา เกษพรหม. (2541). ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 2 จารึกพระเจ้ากาวิละ พ.ศ. 2334 - 2357. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Blodget, H. (1899). The worship of heaven and earth by the emperor of China. Journal of the American Oriental Society, 20, 58-69.
Chaubey, G., Metspalu, M., Choi, Y., Mägi, R., Romero, I. G., Soares, P., … Kivisild, T. (2011). Population genetic structure in indian austroasiatic speakers: The role of landscape barriers and sex-specific admixture. Molecular Biology and Evolution, 28(2), 1013-1024.
Coedès, G. (1968). The indianized states of Southeast Asia. Honolulu: University of Hawaii Press.
Huang, S. (2001). Summoning the Gods: Paintings of three officials of heaven, earth and water and their association with Daoist ritual Performance in the southern Song period (1127-1279). Artibus Asiae, 61(1), 5-52.
Kutanan, W., Kampuansai, J., Srikummool, M., Brunelli, A., Ghirotto, S., Arias, L., … Stoneking, M. (2019). Contrasting paternal and maternal genetic histories of Thai and Lao populations. Molecular Biology and Evolution 36(7), 1490–1506.
Kutanan, W., Kampuansai, J., Srikummool, M., Kangwanpong, D., Ghirotto, S., Brunelli, A., & Stoneking, M. (2017). Complete mitochondrial genomes of Thai and Lao populations indicate an ancient origin of Austroasiatic groups and demic diffusion in the spread of Tai–Kadai languages. Human Genetics, 136(1), 85-98.
Ma, Y., Yang, X., Huan, X., Wang, W., Ma, Z., Li, Z., … Lu, H. (2016). Rice bulliform phytoliths reveal the process of rice domestication in the Neolithic lower Yangtze River region. Quaternary International, 426, 126-132.
Monica, E. (2004). Sun-worship in China - The roots of Shangqing Taoist practices of light. Cahiers d’Extrême-Asie, 14, 345–402.
Ongsakun, S., Millar, D. W., Tanratanakul, C., & Barron, S. M. (2005). History of Lan Na. Chiangmai: Silkworm Books.
Saelee, C., Tawonatiwas, M., & Yodintra, S. (2018). Suvarnabhumi-gregorian rule to determine whether thai lunar calendar year 2012 is a leap-month year. Chiang Mai Journal of Science, 45(6), 2491–2508.
Saha, M., & Lahiri, N. C. (1992). History of the calendar in different countries through the ages. New Deli: Council of scientific & industrial research.
Yodintra, S. (2007). The existing Suvannaphum at Wat Pra Yeun. Chiang Mai Journal of Science, 34(2), 143–149.
Zheng, Y., Crawford, G. W., Jiang, L., & Chen, X. (2016). Rice domestication revealed by reduced shattering of archaeological rice from the lower Yangtze valley. Scientific Reports, 6, 1-9.