การพัฒนานวัตกรรมการถ่ายภาพใต้น้ำตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการผลิตสื่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการถ่ายภาพใต้น้ำ ตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบ และเพื่อศึกษาผลการพัฒนานวัตกรรมการถ่ายภาพใต้น้ำ ตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยชิ้นนี้มีกระบวนการผลิตการถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวใต้น้ำ มีปัจจัยและขอบเขตดังนี้ 1. การเตรียมตัวของช่างภาพและทีมถ่ายทำ 2. การสื่อสารความหมายและการถ่ายทอดระหว่างนางแบบกับช่างภาพ 3. การลงทุนกับการเช่าอุปกรณ์และการผลิตที่มีราคาสูง 4. ช่างภาพไม่สามารถดำน้ำได้ 5. เมื่อต้องการดูภาพ ต้องรออุปกรณ์กล้องนำขึ้นจากน้ำ แล้วถึงตรวจสอบแฟ้มข้อมูลภาพได้ จากบริบทดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยมีการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมการถ่ายภาพใต้น้ำ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการผลิตสื่อ ด้วยการสังเคราะห์บริบทจากประสบการณ์ทำงานในด้านการผลิตกว่ายี่สิบปี และการสอนนักศึกษากว่าสิบปี ทำให้พัฒนานวัตกรรมดังกล่าวขึ้นจากการวิเคราะห์วัสดุ การคำนวณการหักเหแสง และการทำงานของกล้องบันทึกภาพใต้น้ำ รวมถึงลักษณะของการใช้งานออกมาเป็น “นวัตกรรมการถ่ายภาพใต้น้ำ โดยช่างภาพไม่ต้องดำน้ำเพื่อบันทึกภาพ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาดังกล่าว และจะช่วยให้ช่างภาพ สามารถสร้างผลงานใต้น้ำได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลการประเมินและรับรองนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 คน ของนวัตกรรมการถ่ายภาพใต้น้ำ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการผลิตสื่อ โดยมีการประเมินให้ความเหมาะสมอยู่ระดับมาก ที่จะนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในกระบวนการผลิตสื่อ และสามารถตอบโจทย์การผลิตได้ ด้วยการลดต้นทุนในการเช่าอุปกรณ์ และสามารถมองเห็นภาพที่ถ่ายได้อย่างรวดเร็ว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
ชนกานต์ โฉมงาม และคณะ. (2561). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีมผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ
สะเต็มศึกษาของนักเรียนห้องเรียนวิศว์-วิทย์ (โครงการวมว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2 (1), 33-55.
พันธพงศ์ ตั้งธีระสุนันท์. (2557). Innovation Journey “นวัตกรรม” ความรู้ฉบับนักเดินทางการสร้างสรรค์นวัตกรรมใน ระดับบุคคลสู่ระดับองค์กร.
เข้าถึงจาก https://www.slideshare.net/pantz/1-innovation-journey- 20140626-post-case-study-thailand.
ภักตร์พิมล เสนีย์. (2550). ออบติกส์ทางการถ่ายภาพ. ปทุมธานี: ศูนย์เทคโนโลยีการพิมพ์ ปทุมธานี.
ภัคนัย ทองทิอัมพร. (2550). การมองเห็นและการวัดสี. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์บริการ โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม.
วันชัย แจ้งอัมพร. (2531). ถ่ายภาพใต้น้ำกับกล้องนิโคนอส. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC). (2016). ถอดวิธีคิดเชิงออกแบบ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดช. นิตยสารคิด (Creative Thailand), 8(3), 6.
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์. (2546). ฟิสิกส์ใต้น้ำ. คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรนักดำน้ำอนุรักษ์ใต้ทะเล. กรุงเทพฯ: โครงการอุทยาน ใต้ทะเล จุฬาภรณ์.
สุขธิดา คำเบ้าเมือง. (2552). สูตรสำเร็จของการจัดการความรู้ (ตอนจบ). วารสาร PRODUCTIVITY WORLD, 4(13), 66-70.
Advisory.com. (2017). How 4 hospitals are using ‘design thinking’ to foster innovation.
Retrieved from https://www.advisory.com/daily-briefing/2017/08/11/designthinking.
Brown, T. (2008). Design thinking. Harv Bus Rev, 86(6), 84.
Choi HH, Kim MJ. (2017). The effects of analogical and metaphorical reasoning on design thinking.
Thinking Skills and Creativity, 23, 29–41.
DEX Space. (2016). DESIGN THINKING (OVERVIEW). Retrieved from https://medium.com/base-the-business- playhouse/design-thinking-overview-dc8c8e7547db.
Kerr, M. (2001). The Delphi Process. Retrieved from http://rararibds.org.uk/Documents/bid_79-delphi.htm.
MaySripata. (2016). “Design Thinking”. Retrieved from https://storylog.co/story/56a321f8f69f51246bce4045.
Plattner H. (2010). An introduction to design thinking process guide. Retrieved from
Roberts JR, Fisher TR, Trowbridge MJ, Bent C. (2016). A design thinking framework for healthcare management and innovation. Healthcare, 4, 11-4.
Roger, F. (2017). Design thinking for the rest of us. Retrieved from
https://www.decisionanalyst.com/blog/designthinking.
Tidehole A, Ryden O. (2015). Design thinking as facilitation for Innovation in Swedish Healthcare–A case study at Karolinska University Hospital [Thesis]. Goteborg: Chalmers University of Technology.
van de Grift TC, Kroeze R. (2016). Design thinking as a tool for interdisciplinary education in health care. Academic Medicine, 91(9), 1-5.
WhiteTofu. (2016). Design Thinking. Retrieved from http://www.applicadthai.com/articles/-design-thinking.