การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยการเรียนรู้แบบบริการสังคมร่วมกับการทดลอง

Main Article Content

ธีร์นวัช นันตา
สุทธิดา จำรัส

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมร่วมกับการทดลองเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมร่วมกับการทดลองที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มประชากรสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนคาบกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมร่วมกับการทดลอง แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการบริการสังคมร่วมกับการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความก้าวหน้าทางการเรียนทั้งระดับชั้น ผลการวิจัยพบว่า ผลการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมร่วมกับการทดลอง เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนคาบกิจกรรมวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมร่วมกับการทดลองซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นเตรียมการ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นการเลือกเรื่องที่จะใช้ในการปฏิบัติการทดลอง ขั้นการวางแผนการทดลอง ขั้นการดำเนินการทดลอง ขั้นการสรุปผลการทดลองและขั้นการสรุปกิจกรรม 2. ขั้นปฏิบัติการ และ 3. ขั้นผลสะท้อนกลับ ควรมีแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้ การวางแผนและปฏิบัติการทำกิจกรรมด้วยตนเอง การถามคำถามเพื่อให้แสดงความคิดเห็น การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การนำเสนอผลการทำกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักเรียนกับนักเรียนและนักเรียนกับครู การได้ค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่ออธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และการนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่น ในส่วนผลการจัดการเรียนรู้เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นและมีความก้าวหน้าทางการเรียนทั้งระดับชั้นเท่ากับ 0.53 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนของคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการบริการสังคมร่วมกับการทดลองอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

โคมเพชร ธรรมโกศล. (2549). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จันทร์จิรา พีระวงศ์. (2553). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อฝึกทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2552). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ศรีนวล รัตนานันท์. (2540). ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สาริศา บุญแจ่ม. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และแบบการบริการสังคมเรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์, 9, 147-158.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). (2558). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.

สุทธิดา จำรัส. (2559). การสอนวิทยาศาสตร์ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนีย์ คล้ายนิล. (2555). ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สุรางคณา จันทร์เรือง. (2558). บริบทในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์, 7, 17-32.

สิตา ทายะติ. (2555). การบูรณาการเทคนิคการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ, 7, 132-139.

เสวียน ประวรรณถา. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Bond, Ernest. (2000). Using literature with English language learners: A service learning project. USA: Salisbury University.

Bransford, Brown and Cocking. (2000) . How People Learn: Brain, Mind, Experience and School. Washington D.C.: National Academy Press.

Brenda, E.J. (2010). Service-Learning Handbook. USA: Guilford Country Schools.

Budnitz, P. (2009). What Do We Mean by Inquiry. Retrieved from http://www.biology.duke.edu/cibl/inquiry/what_is_inquiry/htm.

Eyler, Janet. and Giles, Dwight. (2001). Where's the Learning in Service-Learning. The Journal of Higher Education.72(2). 256-258.

Fisher, D., A. Harrison, A. Hofstein and D. Henderson. (1998). Laboratory learning environments and practical tasks in senior secondary science classes. Research in Science Education. 28, 353-363.

Power, A. (2010). Community Engagement as Authentic Learning with Reflection. Issues in Educational Research. 20, 5763.

Swick and Kevin. (2000). Service learning and teacher education: Linking with life. SC: Clemson University.

Tobin, K.G. (1990). Research on science laboratory activities; in pursuit of better questions and answers to improve learning. School Science and Mathematics, 90, 403-418.

Trang, N. (1998). Re-examining reflection a common issue of professional concern in social work teacher and nurse education. Journal of interprofessional care, 12(1), 21-31.

Wee, Y.G. and Zakaria, F.B. (2012). Promoting civic engagement through a service learning experience. International Journal of Humanities and Social Science. 2(12), 83-88.