การพัฒนาหลักสูตรเน้นกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักฟุตบอลสังกัดสโมสรสตาร์พาวเวอร์อะคาเดมี่ เชียงราย รุ่นเยาวชนชายอายุไม่เกิน 12 ปี (U-12)

Main Article Content

ชรินทร์ทิพย์ แซ่งเง่อร์
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเน้นกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักฟุตบอลสังกัดสโมสรสตาร์พาวเวอร์อะคาเดมี่ เชียงราย รุ่นเยาวชนชายอายุไม่เกิน 12 ปี ประชากร ได้แก่ นักฟุตบอลสังกัดสโมสรสตาร์พาวเวอร์อะคาเดมี่ เชียงราย ในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 155 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักฟุตบอลสังกัดสโมสรสตาร์พาวเวอร์อะคาเดมี่ เชียงราย อายุ 10-12 ปี จำนวน 30 คน  ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกตการฝึกซ้อมของนักฟุตบอล แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ  แบบทดสอบวัดระดับทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ  หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร แบบประเมินทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของนักฟุตบอลสังกัดสโมสรสตาร์พาวเวอร์อะคาเดมี่ เชียงราย ปัญหาการฟังภาษาอังกฤษที่พบมากที่สุด คือ ไม่เข้าใจเมื่อได้ยินคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำศัพท์เทคนิคกีฬาฟุตบอลอยู่ในระดับมาก  ปัญหาการพูดภาษาอังกฤษที่พบมากที่สุด คือ ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์มาก่อนอยู่ในระดับมาก ความต้องการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง คือ เรื่องคำสั่งของผู้ฝึกสอนเกี่ยวกับการใช้คำศัพท์เทคนิคกีฬาฟุตบอลเป็นภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก  2) หลักสูตรเน้นกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักฟุตบอลสังกัดสโมสรสตาร์พาวเวอร์อะคาเดมี่ เชียงราย รุ่นเยาวชนชายอายุไม่เกิน 12 ปี  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  3) ทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักฟุตบอล พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50 ผ่านเกณฑ์การประเมินการฟังภาษาอังกฤษ และร้อยละ 43.4 ผ่านเกณฑ์การประเมินการพูดภาษาอังกฤษที่ตั้งไว้ และ 4) ความพึงพอใจของนักฟุตบอลกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหลักสูตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑามาส เพ็งโคนา. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(1), 39-51.

ชายุดา จันทะปิดตา. (2556). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2), 197-211.

ชวลิต ชูกำแพง. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงกมล ฐิติเวส. (2558). ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการพูดภาษาอังกฤษด้วยการวิเคราะห์ความต้องการทางภาษาเพื่อประกอบอาชีพสำหรับผู้ขับรถโดยสารสาธารณะ (แท็กซี่). วารสารจันทรเกษมสาร, 21(41), 115-124.

พิศณุ นิลกลัด. (2560). มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 - 19 ตุลาคม 2560. พิศณุ นิลกลัด : อาชีพในฝัน ของนักฟุตบอลอาชีพปลดระวาง. เข้าถึงจาก https://www.matichonweekly.com/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2/article_59859.

พิศณุ นิลกลัด. (2561). มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 สิงหาคม 2561. พิศณุ นิลกลัด : ตลาดซื้อขายนักเตะ 2018.

เข้าถึงจาก https://www.matichonweekly.com/กีฬา/article_123003.

ภูริวัฒน์ เสวะกะ. (2551). ผลการลดความเครียดของนักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนโปลิเทคนิคเชียงรายโดยใช้โปรแกรมการฝึก

สัปดาห์. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สไบทิพย์ จันทร์หอม. (2560). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับอาชีพช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาภาษาอังกฤษคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิ วงศ์ทองคำ, ลีลา เตี้ยงสูงเนิน และ จุฑา ติงศภัทิย์. (2560 ). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสโมสรฟุตบอล ในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(90), 160-173.

สิรินาถ จงกลกลาง. (2558). การพัฒนาหลักสูตร. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Kendra Cherry. (2019). Gardner's Theory of Multiple Intelligences. Retrieved from https://www.verywellmind.com/gardners-theory-of-multiple-intelligences-2795161.