การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาจีนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้าน การสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาจีนที่ส่งเสริมความสามารถด้านการสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับประถมศึกษา (คณะศึกษาศาสตร์) และ (2) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาจีน โดยพิจารณาประเด็น ความสามารถด้านการสื่อสารของนักเรียนภายหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และความพึงพอใจของนักเรียน การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ คือ (1) สำรวจสภาพปัญหาในห้องเรียนภาษาจีน (2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (3) การทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในห้องเรียนจริง และ (4) ตรวจสอบ ปรับปรุงเพื่อพัฒนารูปแบบฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่า (1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่ามี 3 องค์ประกอบ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย และขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบการตอบสนองด้วยท่าทาง โดยใช้เทคนิค รูปภาพ สิ่งของ และร่างกาย ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแบบเปิด และการใช้สื่อมัลติมีเดียประกอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร ด้านการฟัง การพูด และการเขียน ภายใต้ 5 ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “CTOM Model” (2) คุณภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่าผู้เรียนมีการสื่อสารด้านการฟัง การพูดและการเขียนจากการทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบคิดเป็นร้อยละ 94.00 92.70 และ 86.60 ตามลำดับ โดยผู้เรียนสามารถฟังและบอกความหมายของคำศัพท์การทักทาย ตัวเลข ที่ได้ออกเสียงคำศัพท์ ตลอดจนสามารถถามตอบเกี่ยวกับการทักทายและตัวเลขด้วยภาษาจีนอย่างง่ายได้ และเขียนตัวอักษร好(hǎo) ได้ถูกต้องตามหลักการเขียนตามเส้นขีด เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับดีทุกด้านโดยเฉพาะด้านรูปแบบกิจกรรมและสื่อที่ใช้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุลจิรา รักษนคร และคณะ. (2553). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง “กินดี มีสุข” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 33(4), 51-59.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. (2550). พัฒนาการของการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 36(2), 64-82.
ประภัสสร เพชรสุ่ม อภิณห์พร สถิตภาคีกุล และกตัญญุตา บางโท. (2560).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด
ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วารสารราชพฤกษ์, 15(1) , 80-87.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทรา นิคมมานนท. (2539). ความรูพื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
ภัทรพงษ์ วงษ์วิจิตรานนท์ และ เพชรรัตน์ จงนิมิตสถาพร. (2557). การศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ด้วยการสอนโดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย รายวิชา ส 32201 พระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 87-92.
วารุณี ศิริ และอภิราดี จันทร์แสง. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ที่มีผลต่อทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11 (2), 195-206.
วันทนี ไพรินทร์. (2547). การพัฒนาความสามารถในการฟงและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 1 ที่ไดรับการสอนโดยวิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง. สารนิพนธศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาตางประเทศ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิชุดา มาลาสาย.(2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนสว่างแดนดิน.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ.ปีงบประมาณ 2561. เข้าถึงจาก http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25620911_151739_6612.pdf.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา, 18 (3), 8 -11.
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศูนย์จีนศึกษาสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับประถม-มัธยมศึกษา. เข้าถึงจาก http://www.csc.ias.chula.ac.th/ดาวน์โหลด/.
สมโภชน์ ธรรมแสง. (2546) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนารี จิตรรัมย์. (2561).การพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง.วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น,12 (1), 205-213.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ . กรุงเทพฯ: สํานักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
อดิเรก นวลศรี. (2558). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนด้วยวิธีตอบสนองด้วยท่าทาง TPR ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 149-159.
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1-17.
ฮิวจ์ เดลานี. (2019). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา. เข้าถึงจาก https://www.unicef.org/thailand/th/stories.
Inprasitha, M. (2011). One feature of adaptive lesson study in Thailand: Designing learning unit. Journal of Science and Mathematics Education, 34, 47-66.
Liu Xun. (2007). Basic Theories of Teaching Chinese as Second Language. Beijing: Beijing Language University Press.
Sariyati. (2557). The effectiveness of TPR (Total Physical Response) method in English Vocabulary Master of Elementary School Children. Retrieved from https://ejournal.undip.ac.id/article/download.
李纯. (2008). 对外汉语字教学模式研究现状分析.学术论文 韩山师范学院.