การวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในประเทศไทย

Main Article Content

มนันยา สายชู
ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ
จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 จนถึง พ.ศ.2562 จำนวน 240 เรื่อง โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ด้วยแบบวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตร สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปรัชญาการศึกษาที่ใช้ในการออกแบบหลักสูตรมากที่สุด คือ ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม   2) แนวคิดที่ใช้ในการออกแบบหลักสูตรมากที่สุด คือ แนวคิดที่ยึดกิจกรรมและปัญหาของสังคม ท้องถิ่นหรือชุมชน 3) รูปแบบหลักสูตรที่ใช้ในการออกแบบหลักสูตรมากที่สุด คือ หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม 4) จุดมุ่งหมายของหลักสูตรในด้านเนื้อหาที่มีการออกแบบมากที่สุด คือ จุดมุ่งหมายด้านอาชีพ ขณะที่จุดมุ่งหมายด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ในการออกแบบมากที่สุด คือ จุดมุ่งหมายด้านพุทธิพิสัย 5) เนื้อหาที่มีการออกแบบในหลักสูตรมากที่สุด คือ เนื้อหาวิชาเฉพาะทางหรืออาชีพ  6) กิจกรรมการเรียนรู้ที่นำมาออกแบบหลักสูตรมากที่สุด คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง 7) การวัดประเมินผลโดยใช้การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นวิธีการการวัดและประเมินผลที่มีการออกแบบในหลักสูตรมากที่สุด ขณะที่การประเมินผล     ตามสภาพจริง ที่มีการออกแบบในหลักสูตรมากที่สุด คือ การสังเกตพฤติกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). นิยามศัพท์หลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวทางการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทย พับบลิคเอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2553). โรงเรียนสาธิตที่แท้ : การจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(1), 71-93.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

ทิศนา แขมณี. (2561). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มารุต พัฒผล. (2562). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์นวัตกรรมหลักสูตรหลักสูตรและการเรียนรู้.

รัตนพร ราชสะอาด. (2560). ปรัชญาการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต), ภาควิชาศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรนุช นิลเขต. (2554). ผลการเรียนรู้จากกิจกรรมปฏิบัติจริงที่มีต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(3-4), 40-49.

วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2558). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา: กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.

ศกร พรหมทา. (2557). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต). ภาควิชานโยบายและความเป็นผู้นำทางการศึกษา สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 1856-1867.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Allan C. Ornstein and Francis P. Hunkins. (1993). Curriculum Foundations, Principles and Issues. (2nd ed.) Boston: Allyn and Bacon.

Beauchamp, George A. (1968). A Curriculum Theory. Willmette,llinois: The Kage Press.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives Handbook I :Cognitive Domain. New York: David McKay Company Inc.

David, Pratt. (1980). Curriculum design and development. New York: Harcourt Brace Jovanovich.

Dewey, J. (1963). Experience and Education. New York: Macmillan Publishing Company.

Nutravong, R. (2002). School-based curriculum decision-making: A study of the Thailand reform experiment (Doctoral Dissertation). U.S.A.: Indiana University, Bloomington.

Saylor, J.G. & Alexander, W.M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Smith B. William O, Stanley and Harlen J. Shores. (1950). Fundamentals of Curriculum Development. New York: World Book Company.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York: Parker Publishing.

Unesco, APEID. (1982). Integrating Subject Areas in Primary Education Curriculum: A Joint Innovative Project. Bangkok: Unesco Regional Office for Education in Asia and the Pacific.

Zais, R.S. (1976). Curriculum: Principal and foundation. New York: Harper & Row, Publisher.