ผลการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาตามแนวสืบสอบร่วมกับ แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ณัฐพร ผาสุข
จันทร์พร พรหมมาศ
เกษมสันต์ พานิชเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการเรียนการสอนตามแนวสืบสอบร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นลงมือปฏิบัติ และขั้นขยายประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนชุมชนบ้านอ่างเวียน จังหวัดชลบุรีจำนวน 40 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาหลังเรียนด้วยการเรียนการสอนตามแนวสืบสอบร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนด้วยการเรียนการสอนตามแนวสืบสอบร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กนก จันทร์ทอง. (2560). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(2), 227-241.

กุลนิดา ปลื้มปิติวิริยะเวช. (2562). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทรา ศรีสุข. (2531). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสอนแบบสืบสอบและวิชาสอนแบบถ่ายทอดความรู้ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชามัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทร์พร พรหมมาศ. (2563). ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน( เอกสารประกอบการสอน). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชนิชดา ชนะกิจจานุกิจ. (2550). ผลของการเรียนแบบสืบสอบบนเว็บด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือที่แตกต่างกันที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการศึกษา สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดรุณี จำปาทอง. (2560). สภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในระดับการศึกษาภาคบังคับ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(2), 121-135.

ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาตยา ภัทรแสงไทย. (2525). ยุทธวิธีการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557, 26 มิถุนายน). ในประเทศ: ประวัติศาสตร์-ศีลธรรมไม่ใช่วิชาเดี่ยวโดดต้องบูรณาการและสอนให้เด็กคิดเป็นวิเคราะห์ได้. แนวหน้า, http://www.naewna.com/local/10975.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนพานิช.

ยุทธพันธ์ พงษ์ไพร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงที่มีต่อมโนทัศน์ทางเศรษฐศาสตร์ และเจตคติต่อการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิรารัตน์ ปิงเมือง. (2563). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2559). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ม.3 ปีการศึกษา2557-2560. เข้าถึงจาก http://www.niets.or.th/uploas/editor/files/Download/ค่าสถิติพื้นฐาน%20ม.3.pdf.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงจาก https://bet.obec.go.th/New2020/wp-content/uploads/2020/06/onet-p3m3m62562.pdf.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2552). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ภาวัง และ สุมาลี ชูกำแพง. (2563). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 175-192.

สุนิสา เนรจิตร์. (2561). การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ โดยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุจิตรา เขียวศรี. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การช่วยเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต)สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุเทน วางหา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต).สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Akpan, V., Igwe, U., Mpamah, I., & Okoro, C. (2020). Social constructivism: Implications on teaching and learning. British Journal of Education, 8(8), 49-56.

Alberta Learning. (2004). Focus on inquiry: A teacher’s guide to implementing inquiry-based learning.Canada: Alberta.

Bailey, L. A. (2018). The impact of inquiry-based learning on academic achievement in eighth-grade social studies (Doctoral dissertation). University of South Carolina.

Bybee, R. W., Taylor, J. A., Gardner, A., Van Scotter, P., Powell, J. C., Westbrook, A., & Landes, N. (2006). The BSCS 5E instructional model: Origins and effectiveness. Retrieved from http://www.bscs.org/bscs-5e-instructional-model/.

Bigge, M. L., & Shermis, S. (2004). Learning theories for teachers. Boston: Allyn and Bacon.

Brush, T. (2002). Scaffolding critical reasoning about history and social issues in multimedia-supported learning environments. Educational Technology Research and Development, 50(3), 77-96.

Carin, A. A. and Sund, R. E. (1975). Teaching modern science (2nd ed.). Columbus, Ohio: Merril publishing Company.

Colburn, A. (2000). An inquiry primer. Science scope, 23(6), 42-44.

Eggen, P., & Kauchak, D. (2006). Strategies and models for teachers: Teaching content and thinking skills (5th ed.). Boston: Pearson Education Inc.

Fang, Z., Lamme, L. L., & Pringle, R. M. (2010). Language and literacy in inquiry-based science classrooms, grades 3-8. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Foley, J. (1994). Scaffolding. ELT Journal, 48(1), 101-102.

Garcia, J., & Michaelis, J. U. (2000). Social studies for children: A guide to basic instruction. Boston: Allyn and Bacon.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2015). Models of teaching (9th ed.). Boston: Pearson Education Inc.

Kilbane, C. R., & Milman, N. B. (2014). Teaching models: Designing instruction for 21st century learners.Boston: Pearson Education Inc.

Kenny, R. F., Bullen, M., & Loftus, J. (2006). Problem formulation and resolution in online problem-based learning. International Review of Research in Open and Distributed Learning, 7(3), 1-20.

Lee, H.-Y. (2014). Inquiry-based teaching in second and foreign language pedagogy. Journal of LanguageTeaching and Research, 5(6), 1-9.

Lgo,. C., Moore, D. M., Ramsey, J., & Ricketts,. J. C. (2008). The problem-solving approach. Techniques, 83(1). 52-55.

Llewellyn, D. (2005). Teaching high school science through inquiry: A case study approach. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Masilo, M. M. (2018). Implementing inquiry-based learning to enhance Grade 11 students' problem-solving skills in Euclidean Geometry (Doctoral dissertation). Mathematics Education University of South Africa.

National Council for the Social Studies. (2008). A vision of powerful teaching and learning in the social studies: Building effective citizens. Social Education, 75(5), 227-280.

Orlich, D. C., Harder, R. J., Callahan, R. C., Trevisan, M. S., & Brown, A. H. (2004). Teaching strategies: A guide to effective instruction (7th ed.). Boston: Houghton Mifflin Company.

Ormrod, J. E. (2012). Human Learning (6th ed.). Boston: Pearson Education Inc.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological process. Cambridge, MA: Harvard University Press.