การพัฒนาความสามารถการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้กลยุทธ์การจำคำศัพท์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุปรีดา ซาล่าม
อภิชยา ประดับนาค
ธีราภรณ์ พลายเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการใช้กลยุทธ์การจำคำศัพท์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกลยุทธ์การจำคำศัพท์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร จำนวน 14 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์การจำคำศัพท์ แบบทดสอบวัดความความสามารถการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อกลยุทธ์การจำคำศัพท์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์การจำคำศัพท์มีความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การจำคำศัพท์ซึ่งนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนาพร รุจิโฉม. (2561). การสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทยกับการดำเนินชีวิต. วารสารศิลปการจัดการ มูลนิธิธรรมภิวัฒน์, 2(3), 199-210.

ชานนท์ ภาคกินนร. (2563). ผลการพัฒนาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เกมคําศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 45-55.

ณัฐฐิรา ปุยะกุล ซวิค. (2562). การพัฒนาการสอนอ่านออนไลน์โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาและกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านออนไลน์และการใช้กลวิธีการอ่านเชิงอภิปัญญาและกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพงษ์ พลหน่วยตระกูล. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์เพื่อพัฒนาความรู้คำศัพท์และความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองสิมโนนสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(3), 1-14.

ทิฏิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยนุช อุดมเกียรติสกุล. (2559). กลยุทธ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนเอกชนจังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน (น.844-848). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

สมพร โกมารทัต. (2559). การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพฯและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือแนวทางการจัดการการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามความเข้มข้น 3 ระดับสู่สากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการติดตามและประเมินผลนโยบายการส่งเสริมการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับ Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2560). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2560 บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

Bialystok, E. (1981). The Role of Linguistic Knowledge in Second Language Use. Studies in Second Language Acquisition, 4, 31-45.

Burns, P. C., & Lowe, A. L. (1966). The Language Arts in Childhood Education. Chicago: Rand McNally.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In M. Fishbein, Reading in Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Nation, P. (2001). Learning Vocabulary in Another Language. Cambridge : Cambridge University Press.

Nation, P. (2019). The different aspects of vocabulary knowledge. In The Routledge Handbook of Vocabulary Studies (pp. 15-29). London: Routledge.

Oxford, R. L. (1990). Language Learning Strategies: What Every Teacher Should Know. New york: Newbury House.

Tavárez Da Costa, P., & Reyes Arias, F. (2021). A case Study on the Use of Spelling as a Determining Factor in Teaching English Grammar. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=ED610509.

Taylor, B. (1995). Reading Difficulties: Instruction and Assessment. New York: McGraw Hill.

Sozler, S. (2012). The effect of memory strategy training on vocabulary development of Austrian secondary school students. 4th World Conference on Educational Science, 46, 1348-1352.

Wangru, C. (2016). Vocabulary Teaching Based on Semantic-Field . Journal of Education and Learning, 5(3), 64-71.

Wilkins, D. (1972). Linguistics in Language Teaching. Cambridge: MFT Press.