การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแบบดีไอวาย: กิจกรรมสะเต็ม เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแบบดีไอวายตามแนวสะเต็มศึกษาที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ (2) เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแบบดีไอวายตามแนวสะเต็มศึกษาที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 28 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 แบบ คือ (1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแบบดีไอวาย จำนวน 4 แผน เวลา 12 ชั่วโมง แบบบันทึกกิจกรรมและคู่มือการจัดกิจกรรมสำหรับครู (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาและแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ แล้วนำมาเทียบเกณฑ์ เพื่อแปลผลระดับคุณภาพ การวิจัยปรากฏผลดังนี้ (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแบบดีไอวายตามแนวสะเต็มศึกษามีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาโดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.32 คิดเป็นร้อยละ 81.61 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแบบดีไอวายตามแนวสะเต็มศึกษามีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.04 คิดเป็นร้อยละ 73.45 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจนา พายุมั่ง. (2555). ผลการใช้กิจกรรมแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสันปูเลย (การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ตฤณ หงษ์ใส. (2560). การส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษา (การศึกษาปฐมวัย) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทอฉาย ถาวรชาติ. (2559). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการสอน
แบบซิปปา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิพวรรณ เมืองมูล. (2561). การพัฒนาแนวคิดและทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ผ่านการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานในรายวิชาเคมี หน่วย กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).สาขาวิชาเคมีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนพิพัฒน์ จันทร์รอด และสุทธิดา จำรัส. (2565). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแบบดีไอวาย: กิจกรรมสะเต็ม เพื่อพัฒนานักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ สวก., 25(1), 3-15.
ธาริน บุญถวิล. (2561). การพัฒนาบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้ากระแส เพื่อพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิธวินท์ จันทร์ลือ. (2560). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ รายวิชา ฟิสิกส์ เรื่องคลื่นเสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
วีระพล จันทร์ดียิ่ง. (2559). การประยุกต์การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. วารสารนเรศวรพะเยาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(2), 1-4.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1
เล่ม 1 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สุพัจนา นามประดิษฐ์. (2559). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เหมา เจียยี่. (2560). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาในสังคมไทยของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษา (สังคมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อนันต์ ธะสุข. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อาทิตยา คำมามุง. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องปฏิกิริยาเคมี และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
Bybee, R. W. (2006). Scientific inquiry and science teaching. In Flick, L.B., Lederman, N.G. (Eds.), Scientific Inquiry and Nature of Science: Implications for Teaching, Learning and Teacher Education (pp.1-14). Dordrecht: Springer.
Cambridge Dictionary. (2019). Meaning of “DIY” in the English Dictionary. Retrieved from
https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/diy.
Ennis, R.H. (1991). Critical thinking: A Streamlined Conception. Teaching Philosophy, 14(1), 5-23.
Fosnot, C. T. (2013). Constructivism: Theory, perspectives, and practice. New York: Teachers College Press.
Honma, T. (2017). Advancing alternative pathways to science: community partnership, Do-It-Yourself (DIY) /Do-It-Together (DIT) collaboration, and STEM Learning “from Below”. Transformations, 27(1), 41-50.
Kukla, A. (2000). Social Constructivism and the Philosophy of Science. London: Psychology Press.
Lee, H. S., & Butler, N.(2003).Making authentic science accessible to students. International Journal of Science Education, 25(8), 923-948.
Merriam-Webster. (2021). Do-it-yourself: Merriam-Webster.com Dictionary, Retrieved from https://www.merriam-webster.com/dictionary/do-it-yourself.
OECD. (2020). PISA 2018 Results (Volume VI): Are Students Ready to Thrive in an Interconnected World? Paris: OECD Publishing.
OECD. (2021). Are 15-year-olds prepared to deal with fake news and misinformation?. PISA in Focus, 113, 2-7.
Office of the Education Council. (2017). Education in Thailand. Bangkok: Prigwan Graphic.
Papert, S., & Harel, I. (1991). Situating constructionism. Constructionism, 36(2), 1-11.
Weir, J.J. (1974). Problem Solving is Everybody's Problem. The Science Teacher. 41(4), 16-18.
Werner, P. H. (1991). The Ennis-Weir critical thinking essay test: An instrument for testing and teaching. Journal of Adolescent & Adult Literacy, 34(6), 494.