การจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการสาระวิทยาศาสตร์กายภาพ โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่มีต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์ และศึกษาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการสาระวิทยาศาสตร์กายภาพโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม กลุ่มประชากร คือ เด็กชั้นอนุบาล 3 (อายุ 5-6 ปี) จำนวน 19 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดลำบัว เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์บูรณาการสาระวิทยาศาสตร์กายภาพโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลอง 3) แบบประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยรายสัปดาห์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะทางวิทยาศาสตร์หลังการทดลองทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี (=3.06, σ = 0.84) เรียงจากสูงสุด คือ การสังเกต การวัด และการพยากรณ์ ตามลำดับ ส่วนการสื่อความหมาย อยู่ในระดับพอใช้ ผลการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมในขณะจัดประสบการณ์ พบว่า 1) การสังเกต เด็กใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลาย 2) การวัด เด็กเลือกใช้เครื่องมือวัดที่ไม่เป็นมาตรฐาน บอกค่าจากการวัดได้ 3) การพยากรณ์ เด็กเชื่อมโยงความรู้จากการสังเกต และการวัด เพื่อคาดคะเนคำตอบ 4) การสื่อความหมาย เด็กอธิบายชิ้นงานที่สร้างขึ้นอย่างสมเหตุสมผล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชุติกานต์ เอี่ยวเล็ก และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2562). ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้และกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย. วารสาร หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 10(1), 79-93.
ธีร์นวัช นันตา และ สุทธิดา จำรัส (2565). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายด้วยการเรียนรู้แบบบริการสังคมร่วมกับการทดลอง. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(2), 105-118.
นุชลี อุปภัย. (2558). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัทธนันท์ ไตรทามา. (2563). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(37), 49-58.
แพรวนภา ไชยวงค์ และ เดชา ศุภพิทยาภรณ์. (2565). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชาติพันธุ์ผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมในกิจกรรมของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(2), 105-118.
รัตติยาพร ฟูแสง. (2561). การพัฒนากิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็มศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
สิรวิชญ์ แก้วเกิด, นพดล ทุมเชื้อ, สุรพล ยังวัฒนา และสุวรรณ์ ทวีศาสตร (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(3), 85-94.
สิริญ์ลดาฌ์ เกียรติทวี. (2560). การจัดการเรียนรู้จากงานของพ่อเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และประสบการณ์การเรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยสะเต็มศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, J.W. (1995). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall.
Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. Washington, DC: The George Washington University, School of Education and Human Development.
Bustamante, A.S., Greenfield, D.B., Nayfeld, I. (2018). Early Childhood Science and Engineering: Engaging Platforms for Fostering DomainGeneral Learning Skills. Journal of Research in Education Sciences, 8(3), 1-13.
De Graaf, E. & Kolmos, A. (2003). Characteristics of problem-based learning. International Journal ofEngineering Education, 19(5), 657-662.
Kurnianingsih, C.T. (2017). Analysis on Science Process Skills of Students Through Contextual Approach on Science-ChemistryLearning in Taiwan. Journals of UNNES – Mathematic & Science, 4(1), 190-196.
Mangold, J. & Robinson, S. (2013). The engineering design process as a problem solving and learning tool in K-12 classrooms. Paper presented at 2013, 120th ASEE Annual Conference & Exposition (pp. 23-1196). Atlanta, Georgia: University of California, Berkeley.
Maranan, V.M. (2017). Basic Process Skills and Attitude Toward Science: Inputs to an Enhanced Students’ Cognitive Performance. Philippines, SanPablo: Faculty of Graduate Studies and Applied Research Laguna State Polytechnic University.
Meeteren, B.V. & Zan, B. (2010). Revealing the Work of Young Engineers in Early Childhood Education. Cedar Falls, Iowa: University of Northern Iowa.
Pantoya, M., Hunt, E., Aguirre-Munoz, Z. (2015). Developing An Engineering Identity in Early Childhood.American Journal of Engineering Education, 6(2), 61-68.
Ministry of Education Republic of Singapore. (2013). Nurturing Early Learners A Curriculum for Kindergartens in Singapore : Discovery of The World. Retrieved from www.nel.moe.edu.sg.
Museum of Science, Boston. (2018). The Engineering Design Process. Retrieved from https://www.eie.org/stem-curricula/engineering-grades-prek-8/eie-for-kindergarten.
Nevada Pre-Kindergarten Standards. (2010). Nevada State Board of Education. Nevada department of Education. Retrieved from https://www.nevadaregistry.org/ece-resources.
Next Generation Science Standards. (2013). The Standards-Arranged by Disciplinary Core Ideas and by Topics. Washington, DC: The National Academies Press.