แนวโน้มการวิจัยด้านสะเต็มศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

ชาตรี ฝ่ายคำตา
มุสตากีม อาแว
ณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล
ปริญญา มัจฉา

บทคัดย่อ

ท่ามกลางการปรับตัวเชิงนโยบายและการผลักดันสะเต็มศึกษาให้เป็นแนวปฏิบัติที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้งานวิจัยด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ปีมานี้ งานวิจัยฉบับนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เกี่ยวกับงานวิจัยทางสะเต็มศึกษาที่พบในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ได้จัดกลุ่มและแสดงแนวโน้มการวิจัยด้านสะเต็มศึกษาโดยปรับปรุงจากกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ของ  Li, Wang & Froyd (2020) คณะผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารบนฐานข้อมูล ThaiJo จำนวนทั้งสิ้น 273 บทความวิจัย พบว่ามีการวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ครอบคลุม 6 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นด้านการจัดการเรียนรู้ ประเด็นด้านหลักสูตร ประเด็นด้านความเชื่อและความรับรู้ของครู ประเด็นด้านการวัดและการประเมินผล ประเด็นการกำหนดนโยบาย และประเด็นการพัฒนาครู ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยทางด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจนถึงปี พ.ศ.2563 และลดลงตามลำดับจนถึงปัจจุบัน โดยมีประเด็นด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษามีการทำวิจัยมากที่สุด แต่พบงานวิจัยด้านการวัดและประเมินผลน้อย อย่างไรก็ดี งานวิจัยฉบับนี้ได้แสดงทิศทางการทำวิจัยด้านสะเต็มศึกษาในประเทศไทย ตลอดจนชี้ให้เห็นช่องว่างของงานวิจัย ที่สามารถเป็นแนวทางเสนอแนะเพื่อสะท้อนกลับไปยังนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ครูหรือผู้ขับเคลื่อนนโยบายด้านสะเต็มศึกษาในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาการวิจัยและต่อยอดในการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย ให้มีศักยภาพเทียบเท่าสากลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชภัทร์ สงวนเครือ. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์ ราชภัฏอุบลราชธานี, 15(2), 11-21.

ชญานนท์ คันทมาตย์ และมณฑา ชุ่มสุคนธ์. (2561). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส22106 สังคมศึกษา 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภายใต้แนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(1), 132-151.

ชาญสิทธิ์ คำพุฒ, ศานิตย์ ศรีคุณ, และสิริกร บำรุงกิจ. (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาในประเทศไทย. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(1), 188-204.

ชาติชาย โคกเขา, สิงหา ประสิทธิ์พงศ์, สมภพ อินทสุวรรณ, และวชิรพัฒน์ จิวานิจ. (2562). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของพืช เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(2), 57-71.

ชุติมา วิชัยดิษฐ และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2564). การรับรู้เกี่ยวกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนสะเต็มศึกษาของครูวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 152-168.

ธนิต บุญใส และสิริลักษณ์ หาญวัฒนานุกุล. (2563). การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบบูรณาการเรียนรู้สะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานสําหรับวิศวกรรมศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 4(1), 97-104.

ธรรมจรรยา เรือนทองดี และจรินทร อุ่มไกร. (2559). การพัฒนาบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา โรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5). วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2(2), 27-35.

นพดล กองศิลป์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษาเพื่อการเรียนรู้สู่สากลตามแนวทางSTEAM. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 12(2), 46-57.

น้ำเพชร นาสารีย์, อ้อมตะวัน แสงจักรวาฬ, และขนิษฐา รุงวิทย์วทัญญู. (2562). การศึกษาความสามารถในการทำโครงงานสะเต็มศึกษา กระบวนการกลุ่ม ทักษะการนำเสนอผลงานและคุณภาพของโครงงาน ด้วยการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการประเมินเพื่อการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(3), 93-104.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2564). การสังเคราะห์รูปแบบการสอนสะเต็มศึกษาโดยความร่วมมือกันจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(2), 109-119.

ณัฐพงศ์ จำเนียรผล วรวุฒิ เพ็งพันธ์ เกรียงศักดิ์ บุญญา และศุภัครจิรา พรหมสุวิชา. (2564). แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการสร้างหุ่นยนต์สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(1), 104-114.

ประสงค์สิทธิ์ ราชชมภู และนิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2563). กระบวนการนำนโยบายสะเต็มศึกษาไปปฏิบัติในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารปกครอง, 9(2), 541-556.

ไปรยาลภัส สหพัฒนสมบัติ, ปานเพชร ร่มไทร, และสิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(79), 21-32.

พรชัย หนูแก้ว และศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย. (2561). การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 1-15.

ภัทรวดี สิทธิสาร. (2561). การพัฒนาชุดการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษาบูรณาการร่วมกับการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง พอลิเมอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 8(1), 108-118.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม. นิตยสาร สสวท, 185(46), 4-18.

ฤกษ์ฤดี นาควิจิตร, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่, และสุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวสตีมศึกษาบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสําหรับนักศึกษาครู. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 381-398.

ลัทธพล คําภิระปาวงศ์, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, กัลพฤกษ์ พลศร, และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2563). การส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 46(2), 251-260.

วรรณิสา ร้อยกรอง และธิติยา บงกชเพชร. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง การสำรวจและการผลิตปิโตรเลียม เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(3), 135-148.

วัชระ เย็นเปรม. (2561). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยใช้รูปแบบสตีมศึกษาและเนื้อหาความเป็นท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(ฉบับพิเศษ), 193-207.

วิชญาพร อ่อนปุย. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบตามแนวคิด STEM Education เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของนักศึกษาครู. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(1), 102-116.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ และจุฬารัตน์ ธรรมประทีป. (2563). โรงเรียนคือฐานการพัฒนาวิชาชีพครูโดยชุมชนแห่งการเรียนรู้: การพัฒนารูปแบบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน เพื่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้อย่างยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 43(2), 43-58.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม. กรุงเทพมหานคร: สกสค. ลาดพร้าว.

สหรัฐ ยกย่อง และศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2562). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 6 ขั้น เรื่อง ภารกิจพิทักษ์สิ่งแวดล้อม. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 10(2), 183-200.

สุดารัตน์ พรหมแก้ว, เอกรินทร์ สังข์ทอง, ชวลิต เกิดทิพย์, และชิดชนก เชิงเชาว์. (2563). การบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา: กรณี ศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(3), 199-212.

สุทธิดา จำรัส. (2562). การออกแบบและพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มเพื่อชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(2), 1150-1170.

อับดุลยามีน หะยีขาเดร์, ณัฐวิทย์ พจนตันติ, ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ, และแววฤดี แววทองรักษ์. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 30(1), 170-180.

Bell, B., & Gilbert, J. (1996). Teacher Development: A Model from Science Education. London: The Falmer Press.

Bicer, A., Capraro, R.M., and Capraro, M.M. (2017). Integrated STEM Assessment Model. EURASIA Journal of Mathematics Science and Technology Education, 13(7), 3959-3968.

Bybee, R. W. (2010). Advancing STEM education: A 2020 vision. Technology and Engineering Teacher, 70(1), 30.

Chomphuphra, P., Chaipidech, P., & Yuenyong, C. (2019). Trends and Research Issues of STEM Education: A Review of Academic Publications from 2007 to 2017. Journal of Physics: Conference Series, 1340(1), 12-69.

Dixon-Woods, M. (2016). Systematic reviews and qualitative methods In Qualitative research. London: Sage.

Gao, X., Li, P., Shen, J., and Sun, H. (2020). Reviewing assessment of student learning in interdisciplinary STEM education. International Journal of STEM Education. 24(7), 1-14.

Irwanto, I., Saputro, A.D., Widiyanti, Ramadhan, M.F., and Lukman, I.R. (2022). Research Trends in STEM Education from 2011 to 2020: A Systematic Review of Publications in Selected Journals. International Journal of Interactive Mobile Technologies. 16(5), 19-32.

Karahan, E., Canbazoglu Bilici, S., & Unal, A. (2015). Integration of media design processes in science, technology, engineering, and mathematics (STEM) education. Eurasian Journal of Educational Research, 60, 221-240.

Kayan-Fadlelmula, F., Sellami, A., Abdelkader, N., & Umer, S. (2022). A systematic review of STEM education research in the GCC countries: trends, gaps and barriers. International Journal of STEM Education, 9(1), 1-24.

Koehler, C., Faraclas, E., Giblin, D., Moss, D., and Kazerounian, K. (2013). “The Nexus between science literacy and technical literacy: a state by state analysis of engineering content in state science standards.” Journal of STEM Education. 14(3), 5-12.

Li, Y., Froyd, J. E., & Wang, K. (2019). Learning about research and readership development in STEM education: A systematic analysis of the journal’s publications from 2014 to 2018. International Journal of STEM Education, 6(1), 1-8.

Li, Y., Wang, K., Xiao, Y., & Froyd, J. E. (2020). Research and trends in STEM education: A systematic review of journal publications. International Journal of STEM Education, 7(1), 1-16.

Moore, T.J., et al. (2015). “NGSS and the landscape of engineering in K-12 state science standards”. Journal of Research in Science Teaching. 52(3), 296–318.

Ortiz, A. M., Bos, B., & Smith, S. (2015). The power of educational robotics as an integrated STEM learning experience in teacher preparation programs. Journal of College Science Teaching, 44(5), 42-47.

Rapley, T. (2016). Some pragmatics of qualitative data analysis In Qualitative research. London: Sage.