การพัฒนาการคิดเชิงระบบร่วมกับการตระหนักรู้ในตนเอง เรื่อง พอลิเมอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐานภายใต้การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Main Article Content

ศิริพร ภูยอดตา
อะรุณี แสงสุวรรณ

บทคัดย่อ

การส่งเสริมการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับชีวิตของผู้คนและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งพลเมืองที่ยั่งยืนต้องมีความสามารถบางอย่างในการจัดการตนเองต่อประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบและการตระหนักรู้ในตนเอง เรื่อง พอลิเมอร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐานภายใต้การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน ที่ศึกษา ณ โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 3 แผนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ รอยเท้าพลาสติก ขยะจากพอลิเมอร์ และการแก้ปัญหาขยะพอลิเมอร์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการคิดเชิงระบบ แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเองและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การศึกษาในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยการพัฒนาการคิดเชิงระบบในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้และการตระหนักรู้ในตนเองก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการคิดเชิงระบบอยู่ในระดับปานกลางจนถึงมาก ซึ่งสูงขึ้นตามลำดับแผนการจัดการเรียนรู้ โดยเมื่อนักเรียนพบปัญหาหรือสถานการณ์ที่ซับซ้อนขึ้น นักเรียนจะมีความสามารถในการคิดเชิงระบบในระดับที่มากขึ้น และนักเรียนส่วนใหญ่มีการตระหนักรู้ในตนเองก่อนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากในทุกองค์ประกอบของการตระหนักรู้ในตนเองและหลังการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุดในการประเมินตนเองตามความเป็นจริงและการมีความมั่นใจในตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ สุริยะไชย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับการร่วมรู้สึกในวัยรุ่น (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบวิชาคณิตศาสตร์ ระดับช่วงชั้นที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยะพรรณ ปลาโสม. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงระบบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปรียานันท์ เหินไธสง. (2558). การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพ็ญพิมะ ดูศิริวิเชียร. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนและปัจจัยส่วนบุคคลที่เป็นตัวพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภานุพงศ์ โคนชัยภูมิ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มนตรี แย้มกสิกร. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเคมี เล่ม 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.

สราวุธ พัชรชมพู. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการการศึกษาและการเรียนรู้ บัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์, 45(2), 209-224.

Black, Rhonda S. & Rojewski, J. W. (1998). The Role of Social Awareness in the Employment Success of Adolescents with Mild Mental Retardation. Education and Training in Mental Retardation and Development Disabilities, 33(2), 144-161.

Golemam, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York: Bantam Books.

Kaplan, A. O., & Çavus, R. (2016). Perspectives of 8th Grade Students with Different Epistemological Beliefs on Genetic Themed Socio-scientific Issues. International Online Journal of Educational Sciences, 8 (4), 178-198.

Levinson. (2003). Space in Language and Cognition: Explorations in Cognitive Diversity. Cambridge University Press.

Naveenkumar, R., & Baskar, G. (2021). Process optimization, green chemistry balance and technoeconomic analysis of biodiesel production from castor oil using heterogeneous nanocatalyst. Bioresour Technol, 320, 124347.

Plastic – the Facts. (2017). An analysis of European plastics production, demand and waste data. Retrieved from http://www.plasticseurope.org.

Ratchliffe, M., & Grace, M. (2003). Science Education For Citizenship: Teaching Socio-Scientific Issues. Milton Keynes: Open University Press.

Ryan, P., Perold, V., Osborne, A., & Moloney, C. (2018). Consistent patterns of debris on South African beaches indicate that industrial pellets and other mesoplastic items mostly derive from local sources. Environmental Pollution, 238, 1008-1016.

Sadler, T.D., & Zeidler, D. (2003). Teaching bad science: Highlighting the past to understand the Present. The Science Teacher, 70(9), 36-40.

Senge, P.M. (1993). The Fifth Discioline: The Art & Practice of the Learning Organization. London: Century Business.

Stephan S., Daniela F., Frank R. & Werner R. (2018). Systems thinking within the scope of education for sustainable development (ESD) - a heuristic competence model as a basis for (science) teacher education. Journal of Geography in Higher Education. 42(2), 192 - 204.

UNESCO. (2014). Shaping the Future We Want: UN Decade of Education for Sustainable Development (2005-2014) Final Report. Retrieved from http://unesdoc.unesco.org/images/0023/002301/230171e.pdf.

United Nations. (2015). Transforming our world: The 2030 agenda for sustainable development.

Retrieved from https://sustainabledevelopment.un.org/content/documents/21252030%20Agenda%20for%20Sustainable%20Development%20web.pdf.

Weinert, F. E. (2001). Concept of competence: A conceptual clarification. In Rychen, D. S. & Salganik, L. H. (eds.). Defining and selecting key competencies. (pp. 45-65). Ashland: Hogrefe & Huber Publishers.