การสังเคราะห์ระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่โดยบูรณาการมุมมองเชิงระบบของสตัฟเฟิลบีมและสเตคสำหรับโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นในการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ และ 2) สังเคราะห์ระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่โดยบูรณาการมุมมองเชิงระบบของสตัฟเฟิลบีมและสเตคสำหรับโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัยใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง และระยะที่ 3 การสังเคราะห์ระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ผ่านมุมมองเชิงระบบของของสตัฟเฟิลบีมและสเตค ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 10 คน ครูผู้สอนในโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 20 คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านระบบหลักสูตรและการสอน และพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนในต่างประเทศ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา กรอบแนวทางการสนทนากลุ่มครูผู้สอน กรอบการวิเคราะห์การจัดระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ และแบบประเมินคุณภาพของระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดกลุ่มความสัมพันธ์ของประเด็น และบรรยายพรรณนาทั้งในแบบข้อความและแผนภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นในการดำเนินงาน คือ วิธีคิดทางหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่และกระบวนการทางหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ และ 2) ระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “APPLE System” โดยมีทั้งสิ้น 5 ระบบงานย่อย โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Me=4.86, SD=0.35) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (Me=4.61, SD=0.57)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
Buason, R. (2019). Research and Development of Educational Innovations. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Education Sandbox A.D. 2019. (2019). Royal Gazette. Volume 136. Issue 56. pp. 102-120. [in Thai]
Equitable Education Fund. (2019). From the Past Until Today. Retrieved from
https://www.eef.or.th/wp-content/uploads/2019/04/ [in Thai]
Getting Smart. (2017). What is Place-Based Education and Why Does It Matter?. Retrieved from https://www.gettingsmart.com/wp-content/uploads/2017/02/What-is-Place-Based-Education-and-Why-Does-it-Matter-3.pdf
Intasingh, S., Intanate, N., Srisuk, K., Nguenyuang, S., Maotheuak, S., Jaengaksorn, N., Janhom, P., Pewkam, W., Yimsawat, C., & Aungasith, K. (2021). Research and Development of Learning Management Innovations and Measurement and Evaluation Systems in the Educational Innovation Area of Chiang Mai Province. Bangkok: Program Management Unit on Area-Based Development (PMU A). [in Thai]
Intasingh, S. (2020). School Curriculum Administration. Chiang Mai: Document Printing Unit, Faculty of Science, Chiang Mai University. [in Thai]
Loveless, B. (2021). Guide on Place-Based Education. Retrieved from https://www.educationcorner.com/place-based-education-guide.html
Minero, E. (2016). Place-Based Learning: A Multifaceted Approach. Retrieved from https://www.edutopia.org/practice/place-based-learning-connecting-kids-their-community
Office of Academic Affairs and Educational Standards. (2018). Documents for the Key Personnel Development Workshop to Create Understanding on the Use of Learning Standards and Indicators for the Learning Subjects of Mathematics, Science and Geography, etc. (Revised Edition 2017) According to the Basic Education Core Curriculum A.D. 2008 into Practice. [reproduce]. [in Thai]
Pradhan, N. (2017). Instructional System. Retrieved from https://www.egyankosh.ac.in/bitstream/123456789/8462/1/Unit-1.pdf
Promise of Place. (2020). What is Place-Based Education?. Retrieved from https://promiseofplace.org/
Remillard. J. T., & Heck, D. (2014). Conceptualizing the Curriculum Enactment Process in Mathematics Education. ZDM Mathematics Education, 46, 705-718.
Saylor, J. G., Alexander, W. M. & Lewis, A. J. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning (4th ed.). USA: Holt, Rinehart and Winston.
Sobel, D. (2021). Place Based Education: Connecting Classroom and Community. Retrieved from https://magazine.communityworksinstitute.org/place-based-education-connecting-classroom-and-community/
Stake, R. E. (1967). The Countenance of Educational Evaluation. Teacher College Record, 68, 523-540.
Stake, R. E. (2010). Qualitative Research: Studying How Things Work. New York: The Guilford Press.
Stufflebeam, D. L. (2007). CIPP Evaluation Model Checklist: A Tool for Applying the CIPP Model to Assess Long-Term Enterprises. Retrieved from https://files.wmich.edu/s3fs-public/attachments/u350/2014/cippchecklist_mar07.pdf
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models, and Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.