วิธีการอำนวยการอภิปรายโต้แย้งของครูในการตั้งคำถามของนักเรียนระหว่างการอภิปรายและการเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียนในชั้นเรียนที่ใช้ การศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

วีรภัทร ดากลาง
เจนสมุทร แสงพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การอภิปรายโต้แย้งของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการตั้งคำถามของนักเรียน และ 2) ศึกษาวิธีการของครูในการอำนวยการอภิปรายโต้แย้งจากคำถามของนักเรียน ในระหว่างการอภิปรายและการเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาศัยกรอบ TLSOA Model ในการดำเนินการวิจัย งานวิจัยนี้มีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน   20 คน และครูผู้สอนคือนักศึกษาครูคณิตศาสตร์จำนวน 1 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ใช้ TLSOA Model เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน การบันทึกวิดีทัศน์และภาพนิ่ง ผลงานนักเรียน และโพรโทคอลชั้นเรียน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลชั้นเรียนจากการวิเคราะห์โพรโทคอลและการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยในชั้นเรียนที่ใช้ TLSOA พบว่า 1) การอภิปรายโต้แย้งจากการตั้งคำถามของนักเรียนมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1.1) การนำเสนอข้อมูลเพื่อการโต้แย้งผ่านการตั้งคำถาม (Datum) เป็นการนำเสนอข้อมูล หรือหลักฐานจากสิ่งที่นักเรียนสังเกตได้จากผลงานของเพื่อน โดยตั้งคำถามเชิงโต้แย้งที่แสดงถึงคำถามที่ผู้ถามตระหนักถึงความเป็นปัญหาและมีข้อสรุปของการโต้แย้งเป็นของตนเอง 1.2) การยืนยันข้อโต้แย้งของการตั้งคำถาม (Warrants) เป็นการอธิบายถึงวิธีการหรือแนวคิดของนักเรียน เพื่อหาเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งของผู้ถาม หรือการยืนยันแนวคิดด้วยการโต้แย้งกลับของผู้ถูกถาม 1.3) การสรุปข้อโต้แย้งของการตั้งคำถาม (Claim) เป็นการได้มาซึ่งข้อสรุปที่มาจากแนวคิดของนักเรียน ซึ่งอาจได้มาจากผู้ตั้งคำถามหรือนักเรียนคนอื่นช่วยกันให้เหตุผลจนได้ข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับ และ 2) วิธีการของครูในการอำนวยการอภิปรายโต้แย้งคำถามของนักเรียนในระหว่างการอภิปรายและการเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน ประกอบด้วย 2.1) การเขียนคำถามและคำตอบของนักเรียนที่เกิดจากการโต้แย้งบนกระดาน 2.2) การออกเสียงซ้ำ (revoicing) โดยทวนคำถามของนักเรียน และให้นักเรียนสะท้อนถึงคำถามของเพื่อนที่นักเรียนได้ยินและตระหนัก 2.3) การให้นักเรียนสังเกตและอธิบายความเหมือนและความต่างของแนวคิดเพื่อใช้เป็นข้อสรุปของข้อโต้แย้งนั้น 2.4) การให้นักเรียนที่ตั้งคำถามมีโอกาสตอบกลับคำถามของตนเอง หรือแสดงแนวคิดของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนกับเพื่อน  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ayalon, M., & Hershkowitz, R. (2018). Mathematics teachers’ attention to potential classroom situations of argumentation. The Journal of Mathematical Behavior, 49, 163–173.

Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing a Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47-66.

Inprasitha, M. (2014). Processes of Problem Solving in School Mathematics. Khon Kaen: Pen Printing.

Inprasitha, M. (2016). Thailand Lesson Study incorporated with Open Approach (TLSOA) for developing classroom and using kyozaikenkyu in Lesson Study and Open Approach. [slide]. Khon Kaen: Center for Research in Mathematics Education (CRME). [in Thai]

Inprasitha, M. (2022). Lesson study and open approach development in Thailand: a longitudinal study. International Journal for Lesson and Learning Studies 11(5), 1-15.

Isoda, M., & Katagiri, S. (2012). Mathematical thinking: How to develop it in the classroom (Vol. 1). World Scientific.

Krummheuer, G. (2007). Argumentation and participation in the primary mathematics classroom:Two episodes and related theoretical abductions. The Journal of Mathematical Behavior, 26(1),60–82.

Loypha, S., & Inprasitha, M. (2004). New Approaches to Teacher Professional Development for Promoting Mathematics Learning. KKU Journal of Mathematics Education, 1(1), 18-28.

Pavelkova, M. (2018). Student questions as significant potential for student learning. In Selected Papers of 9th World Conference on Learning, Teaching and Educational Leadership (WCLTA-2018). Sciencepark Sci, Organization & Counseling Ltd.

Solar, H., Ortiz, A., Deulofeu, J., & Ulloa, R. (2021). Teacher support for argumentation and the incorporation of contingencies in mathematics classrooms. International Journal of Mathematical Education in Science and Technology, 52(7), 977-1005.

Svarícek, R., Sedova, K. & Salamounova, Z. (2012). Komunikace ve skolni tride. Praha, Czech Republic: Portal.

Takahashi, A. (2021). Teaching mathematics through problem-solving: A pedagogical approach from Japan. Routledge.

Toulmin, S. E. (2003). The uses of argument (Updated edition 2003). New York: Cambridge University Press.

Yackel, E. (2002). What we can learn from analyzing the teacher’s role in collective argumentation.Journal of Mathematical Behavior, 21(4), 423–440.