Approaches of Landscape Archaeology in Current Thai Archaeological Research

Authors

  • Patcharaporn Ngernkerd Doctoral student of Program in Archaeology, Graduate School, Silpakorn University. email: pare.ngernkerd@gmail.com under the supervision of Prof. Dr. Rasmi Shoocongdej and Assoc. Dr. Saritpong Khunsong

Keywords:

Landscape Archaeology, Cultural Landscape, Geoarchaeology, GIS, Approach

Abstract

แนวคิดทฤษฎีภูมิทัศน์ทางโบราณคดี (Landscape Archaeology) ถือเป็นแนวคิดหนึ่งที่มุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในสมัยโบราณ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการศึกษาเฉพาะปัจจัยทางธรรมชาติเท่านั้น แต่แนวคิดดังกล่าวยังครอบคลุมถึงการพิจารณาสภาพแวดล้อมในมุมมองที่สะท้อนถึงวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ และความเชื่อของแต่ละกลุ่มชุมชน-เมือง-รัฐโบราณร่วมด้วย อันเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาการทางสังคม บทความนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับรู้และความเข้าใจของนักโบราณคดีไทยที่มีต่อแนวคิดภูมิทัศน์ทางโบราณคดี ร่วมกับพยายามสร้างความเข้าใจในองค์ความรู้ของแนวคิดภูมิทัศน์ทางโบราณคดีปัจจุบันเพิ่มเติม ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดดังกล่าวพบว่า สามารถแบ่งกลุ่มศึกษางานภูมิทัศน์ทางโบราณคดีออกได้ทั้งหมด 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. กลุ่มที่เน้นศึกษากระบวนการทางธรรมชาติหรือสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ส่งผลต่อการดำรงชีพของมนุษย์หรือการเลือกตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณ โดยกลุ่มนี้มีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดธรณีโบราณคดีอย่างชัดเจน และ 2. กลุ่มที่เน้นศึกษาพื้นที่ในเชิงปรากฏการณ์ด้านความเชื่อหรือสัญลักษณ์กับสภาพแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ มุ่งเน้นปัจจัยด้านวัฒนธรรมที่ส่งอิทธิพลและมีบทบาทต่อการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมกายภาพเพื่อตอบสนองวัฒนธรรมตนเอง ซึ่งกลุ่มนี้มักจะเน้นการศึกษาวิเคราะห์เชิงพื้นที่เป็นหลัก ทั้งนี้ กลุ่มศึกษาทั้งสองต่างก็ตั้งอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดเดียวกัน นั่นก็คือ การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสภาพแวดล้อมโดยรอบ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกลุ่มต่างมีวิธีการศึกษาและมุมมองต่อภูมิทัศน์ที่เป็นเอกเทศ และยังไม่ปรากฏงานศึกษาภูมิทัศน์ทางโบราณคดีในไทยที่มีการผนวกวิธีการศึกษาและมุมมองของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นจุดด้อยของงานศึกษาภูมิทัศน์ทางโบราณคดีที่กำลังเกิดขึ้นในวงการโบราณคดีไทย

References

ภาษาไทย

กามนิต ดิเรกศิลป์, 2542. “การศึกษาแบบแผนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุลนารถ วรรณโกวิท, 2563. “คุณค่าขององค์ประกอบทางภูมิทัศน์กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด จังหวัดบุรีรัมย์.” สาระศาสตร์ (3): 693-706.

ชวลิต ขาวเขียว, 2546. “ธรณีวิทยาทางโบราณคดี: กระบวนการก่อตัวของแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

____________, 2558. “การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งโบราณคดีกับธรณีสัณฐานบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำป่าสัก.” ใน สุรพล นาถะพินธุ (บรรณาธิการ), ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้เพิ่มใหม่จากงานวิจัยโบราณคดีลุ่มแม่น้ำป่าสัก (หน้า 172-187). กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยการกระจายตัวของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในลุ่มแม่น้ำป่าสัก บริเวณภาคกลางตอนล่าง ประเทศไทย, 7 พฤศจิกายน 2558.

ชวลิต ขาวเขียว และคณะ, 2561. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยภูมิสัณฐานชายฝั่งทะเลโบราณ เมืองท่า เส้นทางการค้า และความเชื่อมโยงกับการตั้งถิ่นฐานแรกเริ่มในประเทศไทย ในบริบทของภูมิอารยธรรมสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ชุติพงศ์ ร่มสนธิ์, 2558. “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งโบราณคดีและปฐพีวิทยาบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์.” ใน สุรพล นาถะพินธุ (บรรณาธิการ), ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้เพิ่มใหม่จากงานวิจัยโบราณคดีลุ่มแม่น้ำป่าสัก (หน้า 149-172). กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยการกระจายตัวของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในลุ่มแม่น้ำป่าสัก บริเวณภาคกลางตอนล่าง ประเทศไทย, 7 พฤศจิกายน 2558.

เชิดศักดิ์ ตรีรยาภิวัฒน์, 2552. “ลำดับชั้นของชุมชนโบราณสมัยล้านนาในพื้นที่เชียงใหม่-ลำพูน ช่วง

พุทธศตวรรษที่ 19-22.” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ตรงใจ หุตางกูร, 2557. “การตีความใหม่เรื่องขอบเขตแนวชายฝั่งทะเลโบราณสมัยทวารวดีบนที่ราบภาคกลางตอนล่าง.” ดำรงวิชาการ 13 (1): 11-44.

ทิวา ศุภจรรยา และคณะ, 2543. “เมืองคูคลอง (ชุมชนขนาบน้ำ): ภูมิปัญญาการสร้างบ้านแปงเมืองจากอดีตถึงรัตนโกสินทร์.” ใน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (บรรณาธิการ), ภูมิศาสตร์กับวิถีชีวิตไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 12 กันยายน 2543.

ทิวา ศุภจรรยา และผ่องศรี วนาสิน, 2524. เมืองโบราณบริเวณชายฝั่งทะเลเดิมของที่ราบภาคกลางประเทศไทย: การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งและภูมิศาสตร์สัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์, 2553. “ความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย.” วารสารอาษา (3): 104-113.

ประอร ศิลาพันธุ์, 2548. “ธรณีโบราณคดีบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโลกศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัศมี ชูทรงเดช และคณะ, 2546. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในเขตอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่ 1 (2546), สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

____________, 2552. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการสืบค้นและจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอำเภอปาย-ปางมะผ้า-ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: โครงการสืบค้นและจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอำเภอปาย-ปางมะผ้า-ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (2552), สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, 2557. “ปุษยคิริ: เขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอู่ทองที่ถูกลืมเลือน.” ดำรงวิชาการ 13 (1): 133-158.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, 2542. “ถมอรัตน์ เขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองศรีเทพ.” เมืองโบราณ 25 (3): 23-29.

วันวิสา วิโรจนารมย์, 2544. “การศึกษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดลพบุรีและนครสวรรค์ ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์ และสิกิต อริฟวิโดโด, 2563. “ภูมิทัศน์สวนในบางกอก: การตีความจากแผนที่และภาพถ่ายโบราณ.” หน้าจั่ว 17 (2): 292-327.

ศรีศักร วัลลิโภดม, 2560. สร้างบ้านแปงเมือง. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุรีรัตน์ บุบผา, 2565. “ภูมิทัศน์ทางโบราณคดีีเทือกเขาพนมดงรักฝั่่งตะวันออกตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา.” ดำรงวิชาการ 21 (1): 49-90.

เสรีวัฒน์ สมินทร์ปัญญา, 2561. ธรณีโบราณคดีของตะกอนถ้ำและเพิงผา และภูมิอากาศบรรพกาล. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

อนุวัฒน์ การถัก และทรงยศ วีระทวีมาศ, 2558. “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม: ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย.” วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 14 (2): 1-12.

____________, 2559. “การเปลี่ยนผ่านความหมายภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมืองสกลนคร ในพุทธศตวรรษที่ 16-25.” หน้าจั่ว 30: 37-53.

ภาษาอังกฤษ

Antze P. & Lambek M., 1996. Tense past: Cultural essays in trauma and memory. London: Routledge.

Ashmore W. & Blackmore C., 2008. Landscape archaeology. USA: Elsevier lnc.

Aston M. & Rowley T., 1974. Landscape archaeology: An introduction to fieldwork techniques on Post-Roman landscapes. Newton Abbot: David and Charles.

Binford L. & Sabloff J., 1982. “Paradigms, systematics, and archaeology.” Journal of Anthropological Research 38 (2): 137-153.

Butzer K., 1982. Archaeology of human ecology: method and theory for a contextual approach. Cambridge: Cambridge University Press.

Christaller W., 1966. Central place in Southern Germany. New Jersey: Prentice-Hall.

Crumley C., Deventer A., & Fletcher J., 2001. New directions in anthropology and environment: Intersections. New York, Oxford: AltaMira Press.

David B. & Thomas J., 2008. Handbook of landscape archaeology. USA: Left Coast Press, Inc.

Hodder I., 1985. “Postprocessual archaeology.” Advances in archaeological method and theory 8: 1-26.

Jackson J., 1986. “The vernacular landscape.” In Penning-Rowsell & Lowenthal (eds.), Landscape meanings and values (pp. 65–81). London: Allen and Unwin.

James P.E. & Martin G., 1981. All posible world: A history of geographical ideas. New York: John Wiley and Sons.

Kluiving S. & Guttmann-Bond B., 2012. Landscape archaeology between art and science: from a multi- to an interdisciplinary approach. Amsterdam University Press.

Lennon J. & Mathews S., 1996. Cultural landscape management. Canberra: Australian Alps Liaison Committee.

Ngernkerd P. & Choowong M., 2017. “Geoarchaeology of The Thung Kula Rong-Hai ancient site, Srisaket and Yasothon provinces, Northeastern Thailand.” In P. Potiyaraj & O. Pinyakong (eds.), Proceedings book of the 43rd congress on science and technology of Thailand (STT43) (pp. 542-550). Bangkok: The Science Society of Thailand Under the Patronage of His Majesty the King, Chulalongkorn University, 17-19 October 2017.

Rappoport A., 1988. “Levels of meaning in the built environment.” In F. Poyatos (ed.), Cross-Cultural perspectives in non verbal communication (pp. 317-336). Toronto: C.J. Hogrefe.

Sauer C., 1962. Land and life: A selection from the writings of Carl Sauer. Berkeley and Los Angeles: University of California Press.

Shanks M., 2007. “Post-Processual archaeology and after.” In C. Chippindale & H. Maschner (eds.), Handbook of archaeological method and theory (pp. 133-144). Walnut Creek: Altamira.

Smith M., 2007. “Form and meaning in the earliest cities: A new approach to ancient urban planning.” Journal of Planning History 6 (1): 3-47.

Stewart J., 2006. “The concept and method of cultural ecology.” In N. Haenn & R.R. Wilk (eds.), The environment in anthropology A reader in ecology, culture, and sustainable living (pp. 5-9). USA: New York University Press.

Strang V., 1997. Uncommon ground: Cultural landscapes and environmental values. Oxford: Berg.

Tilley C., 1994. A phenomenology of landscape: places, paths and monuments. Oxford: Berg.

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี, 2564. ธรณีโบราณคดีแหล่งเรือจมพนม-สุรินทร์. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2565, จาก https://www.finearts.go.th/storage/contents/2021/08/detail_file/bjYbTfRef27rPzA cWjR34fUwVzVwWyOtwyvXphp7.pdf

Downloads

Published

2022-12-27