ภาพตัวแทนของอีสานในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • เกศสุดา นาสีเคน นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดต่อได้ที่: kedsuda.n@msu.ac.th
  • ดร.ชัยรัตน์ พลมุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดต่อได้ที่: chairat.p@chula.ac.th

คำสำคัญ:

ภาพตัวแทน, อีสาน, กวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาภาพตัวแทนของอีสานในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ทศวรรษ 2490 ถึงทศวรรษ 2560 ผลการศึกษาพบว่า ภาพตัวแทนของอีสานในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่มีทั้งความสืบเนื่องและการปรับเปลี่ยนอย่างมีพลวัตตามปัจจัยทางสังคม กล่าวคือ ในช่วงทศวรรษ 2490 ภาพตัวแทนของอีสานในฐานะพื้นที่แห่งความแห้งแล้งกันดารประกอบสร้างขึ้นอย่างสอดรับกับอุดมการณ์สังคมนิยมเพื่อวิพากษ์ความเหลื่อมล้ำทางสังคม      เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดในช่วงทศวรรษ 2530 กวีประกอบสร้างภาพตัวแทนของอีสานในฐานะคนพลัดถิ่นในสังคมเมืองซึ่งสะท้อนให้เห็นช่วงเวลาที่สังคมไทยพัฒนาเป็นสังคมอุตสาหกรรม ต่อมาในทศวรรษ 2550 กวีถ่ายทอด ภาพตัวแทนของอีสานในฐานะท้องถิ่นที่ได้รับผลจากกระแสโลกาภิวัตน์ด้านวัฒนธรรมและระบบนิเวศ และภาพตัวแทนของอีสานในฐานะวิถีชนบทอันเรียบง่ายและอุดมสมบูรณ์ ภาพตัวแทนดังกล่าวทำหน้าที่รื้อถอนภาพอีสานในฐานะดินแดนแห้งแล้งที่ผลิตซ้ำมานาน ด้วยเหตุนี้ กวีนิพนธ์ได้กลายมาเป็นพื้นที่แห่งการต่อสู้ทางวัฒนธรรมและแสดงให้เห็นถึงการประกอบสร้างอัตลักษณ์อีสานที่สัมพันธ์กับอำนาจรัฐไทยและบริบทโลกาภิวัตน์  

References

ใกล้รุ่ง อามระดิษ, 2556. “ภาพตัวแทนของไทยในวรรณกรรมกัมพูชาช่วงต้นสมัยอาณานิคม.” ใน

สุเนตร ชุตินธรานนท์ และขนิษฐา คันธะวิชัย (บรรณาธิการ). ไทยในสายตาเพื่อนบ้าน(หน้า153-186). กรุงเทพฯ : ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านแม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โขงรัก คำไพโรจน์, 2559. เพลงแม่น้ำ. มหาสารคาม: กากะเยียสำนักพิมพ์.

คำผา เพลงพิณ, 2532. เสียงสั่งจากอีสาน. ลอมหนังสือเดือนเสี้ยว: มหาสารคาม.

คำเมือง ราวะรินทร์, 2564. ฮ่วงเฮ้า. มหาสารคาม: สาระฅนสำนักพิมพ์.

ชัยรัตน์ พลมุข, 2562. “ทฤษฎีผัสสารมณ์ (affect theory) กับการศึกษาวรรณกรรม.” ใน สุรเดช โชติอุดมพันธ์

(บรรณาธิการ),นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม(หน้า 323–372).กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

จิตร ภูมิศักดิ์, 2551. คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

จิณห์วรา ช่วยโชติ, 2564. “การเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองในงานวรรณกรรมของนักเขียนอีสานระหว่าง

ทศวรรษ 2530 – 2550.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชาร์ลส์ เอฟ คายส์, 2556. อีสานนิยม : ท้องถิ่นนิยมในสยามประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ

โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์, 2546. การเมืองสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ: มติชน.

ธวัช ปุณโณทก, 2525. วรรณกรรมท้องถิ่น (Regional Literature). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธัญลักษณ์ ทองสุข, 2565. “ประวัติศาสตร์ศูนย์กลางสร้างอคติทางชาติพันธุ์” ชัชวาลย์ โคตรสงคราม นักเขียน

ผู้เรียกตัวเองว่าลาวล้านช้างฝั่งขวาแม่น้ำโขง. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.จาก. https://www.the101.world/chatchawan-khotsongkhram-interview/

ธิกานต์ ศรีนารา, 2555. “ความคิดทางการเมืองของ “ปัญญาชนฝ่ายค้าน” ภายหลังการตกต่ำของกระแส

ความคิดสังคมนิยมในประเทศไทย พ.ศ. 2524 – 2534.” วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาฎนภา ปัจจังคะโต, 2536. “บทบาทของคณะสงฆ์ในหัวเมืองอีสานในการสนับสนุนนโยบายการปกครองของรัฐ

ระหว่าง พ.ศ. 2435 - พ.ศ. 2505.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นายผี, 2557. กาพย์กลอนวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองสยาม เล่ม 3 (พ.ศ. 2494-2495 และ พ.ศ.

- 2502). ไอดา อรุณวงศ์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน.

บรรจง บุรินประโคน, 2558. เมืองสายน้ำ บ้านสายลม. มหาสารคาม: กากะเยียสำนักพิมพ์.

ปฐม หงษ์สุวรรณ, 2556. นานมาแล้ว: มีเรื่องเล่า นิทาน ตำนาน ชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ปฐม หงษ์สุวรรณ, 2558. “พลวัตและการสร้างประเพณีประดิษฐ์.” ใน ศิราพร ณ ถลาง (บรรณาธิการ),

“ประเพณีสร้างสรรค์” ในสังคมไทยร่วมสมัย (หน้า 243 – 317). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ประเสริฐ จันดำ, 2528. ฝอยฝนบนม่านฝุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กอไผ่.

ปรีชา พิณทอง, 2532. สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรม.

เปลื้อง วรรณศรี, 2540. เปลื้อง วรรณศรี กวี-นักคิดนักเขียน-นักสู้. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดงานรำลึก

เปลื้อง วรรณศรี.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์, 2546. เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ.พิมพ์ครั้งที่ 3.

เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.

พลัง เพียงพิรุฬห์, 2556. โลกใบเล็ก. สกลนคร: White Monkey Publishing.

พลัง เพียงพิรุฬห์, 2560. นครคนนอก. พิมพ์ครั้งที่ 2. สกลนคร: นิดจะศิลป์.

พิเชษฐ์ สายพันธุ์, 2538. “กลางคืน: การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การใช้เวลาในสมัยบริโภคนิยม.” ใน สิริพร

สมบูรณ์บูรณะ. (บรรณาธิการ). วัฒนธรรมการบริโภค แนวคิดและการวิเคราะห์ (หน้า 112 – 127). กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก.

ไพวรินทร์ ขาวงาม, 2549. คำใดจะเอ่ยได้ดั่งใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: นาคร.

ไพวรินทร์ ขาวงาม. 2563. ม้าก้านกล้วย. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงเทพฯ: นาคร.

ศิริพร ภักดีผาสุข, 2561. ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย.

กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง, 2539. ในท้องถิ่นมีนิทานและการละเล่น. สุพจน์ แจ้งเร็ว (บรรณาธิการ).

กรุงเทพฯ: มติชน.

สมิทธ์ ถนอมศาสนะ, 2548. “ประวัติศาสตร์นิพนธ์แนวคิด “ศิลปะเพื่อชีวิต” (พ.ศ. 2492 – 2501).” วิทยานิพนธ์

ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมิง จารย์คุณ, 2559. “พันธกิจของนักเขียนและบทบาทของวรรณกรรม: กรณีศึกษาจากนักเขียนสโมสร

นักเขียนภาคอีสาน.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วรรณคดีไทย) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุขุมพจน์ คำสุขุม, 2556. รากของเรา เงาของโลก. มหาสารคาม: กากะเยียสำนักพิมพ์.

สุขุมพจน์ คำสุขุม, 2556. สายรุ้งของความรัก. มหาสารคาม: กากะเยียสำนักพิมพ์.

เสาวณิต จุลวงศ์, 2561. “ทุนนิยมวิพากษ์ในวรรณกรรมไทย.” วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์. 14 (1): 9–52.

อุชเชนี, 2544. ขอบฟ้าขลิบทอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผีเสื้อ.

อุดร ทองน้อย, 2518. อีสานกู. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น.

อนุชิต สิงห์สุวรรณ, 2553. “ประวัติศาสตร์นิพนธ์อีสาน พ.ศ. 2475 ถึงสิ้นทศวรรษ 2520.” วิทยานิพนธ์ปริญญา

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อังคาร จันทาทิพย์, 2563. ระหว่างทางกลับบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ผจญภัยสำนักพิมพ์.

อังคาร จันทาทิพย์, 2563. หัวใจห้องที่ห้า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ผจญภัยสำนักพิมพ์.

Boym, Svetlana, 2001. The future of nostalgia. New York: Basic Books.

Hall, Stuart, 1997. Representation Cultural Representations and Signifying Practices. London: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24