การศึกษาเปรียบเทียบข้อผิดของนักเรียนไทยในการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • พิมลพรรณ วงศ์อร่าม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คำประสม, การสร้างคำ, ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยที่ศึกษาเปรียบเทียบข้อผิดในกระบวนการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษที่เป็นคำยืมแปล กลุ่มตัวอย่างในจำนวน 60 คน คัดเลือดมาจากระดับคะแนนประสบการณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 จำนวน 330 คน โดยจำแนกนักเรียนไทยที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูง และกลุ่มที่ประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยมาจากแบบทดสอบการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษจากคำภาษาไทยที่เป็นคำยืมแปลจำนวน 80 คำ โดยไม่จัดกัดอัตราความเร็วในการนึกรู้คำ (Reaction time) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษที่มีความหมายเทียบเท่ากับคำประสมในภาษาไทยทีเป็นคำยืมแปลมีลักษณะของการสร้างคำที่มีความแตกต่างเป็นแนวต่อเนื่อง (Continuum) จากการ (Problem Avoidance Strategy) ซึ่งกลวิธีและข้อผิดในการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้กระบวนการการสร้างคำภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มต่ำแสดงให้เห็นถึงความจำกัดของคลังคำซึ่งนักเรียนไทยมีไม่เพียงพอจะใช้เพื่อนึกรู้คำ และเป็นกลุ่มที่ข้อผิดเกิดจากการถ่ายโอนภาษาแม่มากที่สุดผ่านทั้งทางรูปเขียนและมโนทัศน์ อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองเสนอแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนทวิภาษาที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูงมีกลวิธีการสร้างคำประสมภาษา มีความหมายใกล้เคียงกับคำในภาษาอังกฤษมากกว่าและมีรูปแบบที่หลากหลายกว่า โดยใช้โครงข่ายทางความหมาย และมีระดับความถูกต้องตามไวยากรณ์ของรูปคำภาษาอังกฤษมากกว่า ครั้งนี้ไม่พบกลยุทธ์การเลี่ยงปัญหา ดังเช่นในกลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำ

References

มธุรส วิสุทธิกุล. (2531). โครงสร้างภาษาอังกฤษ พิมพ์ครั้งที่ 10 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2525). ลักษณะของการยืมภาษา และวัฒนธรรมต่างประเทศที่ปรากฏในภาษาไทย. ศาสตร์แห่งภาษา, (2), 63-78

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Briere, Eugene. John. (1968). A Psycholinguistics Study of PhonologicalInterference. Paris: C.H. Van schooneveled Indiana university, TheNetherland by Mounton and Co., The Hague.

Corder, S.P. (1973). Introducing Applied Linguistics. Middlesex: Penquin.

George, H.V. (1972). Common Errors in Language Learning. Newbury House.Rowley, Mass.

Luksaneeyanawin, S. (2007). Unfolding linguistics. In Wirote Aroonmanakun (ed.)Unfolding Linguistics. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.

Miller, G.A. & P.N. Johnson-Laird. (1976). Language and Perception. Cambridge,Mass: Harvard University Press.

Newmark, L. (1966). How not to interfere with language learning. InternationalJournal of American Linguistics(32nd ed., Vol. 1, pp. 77-83).

Richards, J.C. (1971). A non-contrastive approach to error analysis. EnglishLanguage Teaching 25(3)

Selinker, L. (1972). Interlanguage. International Review of Applied Linguistics inLanguage Teaching x: 3.

Sudasna Na Ayudhya, Panornuang. (2002). Models of mental lexicon in bilingualswith high and low second language experience: an experimental studyof lexical access. Doctoral Dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok.

T’sou, Benjamin K. (1975). On the linguistic Covariants of Cultural Assimilation.Anthropological Linguistics 17 (Vol. 9, pp. 445-465).

Weinreich, Uriel. (1953). Language in Contact. New York: Linguistic Circle and theHague: Mouton.

Downloads