พระนามกษัตริย์สุโขทัย : ความสัมพันธ์กับเขมรโบราณ

ผู้แต่ง

  • ศานติ ภักดีคำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเขมร ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สุโขทัย, กษัตริย์, พระนาม

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้ได้ศึกษาพระนามของกษัตริย์สุโขทัย ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองการปกครองจากอาณาจักรกัมพูชาสมัยพระนครในด้านต่างๆ ได้แก่ พระนามเดิมของกษัตริย์ เช่น คำแหง, เลอไท, ลือไท ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับภาษาเขมรโบราณ คำนำหน้าพระนามเพื่อแสดงฐานะความเป็นกษัตริย์ คือ “กัมรเดง”“พระบาทกัมรเดงอัญ” “กันมู่ติง” และพระนามอย่างเป็นทางการของกษัตริย์สุโขทัย เช่น “พระบาทกัมรเดงอัญศรีรามราช” พระนามกษัตริย์กัมพูชาโบราณในพระนามกษัตริย์ในสุโขทัยคือ “ศรีสูรยพงศ์ราม” อันแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอาณาจักรกัมพูชาสมัยพระนคร และความสืบทอดทางวัฒนธรรมทางการเมืองบางอย่าง ซึ่งสุโขทัยน่าจะได้รับอิทธิพลจากกัมพูชา

References

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ฯ. ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2521.

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ฯ. ประชุมศิลาจารีกภาคที่ 3. พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2508.

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ฯ. ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 4. พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2513.

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ฯ. ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 5. พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2515.

ประเสริฐ ณ นคร. สารนิพนธ์ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541.

ศานติ ภักดีคำ. พจนานุกรมคำยืมภาษาเขมรในกาษาไทย ฉบับฉลอง 55 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซชิ่ง มหาชน, 2549.

ศิลปากร, กรม. จารึกในประเทศไทย เล่ม 4. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529.

ศิลปากร, กรม. จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2527.

ศิลปากร, กรม. สัมพันธภาพไทยจีน. กรุงเทพฯ : กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2521.

POU. Saveros. Dictionnaire Vieux Khmer-Français-Anglais. Paris : Cedoreck, 1992.

Downloads