การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิสัณฐาน ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง ที่เกิดจากการถอยร่นของนํ้าทะเล ในช่วงสมัยโฮโลซีนตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • สิริประภา เทพวิมลเพชรกุล นักศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร02

คำสำคัญ:

ที่ราบภาคกลางตอนล่าง, สภาพภูมิศาสตร์, การถอยร่นของระดับน้ำทะเล, สมัยโฮโลซีนตอนปลาย, การเรืองแสงความร้อน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิสัณฐานของที่ราบภาคกลางตอนล่าง ในช่วงของปรากฏการณ์การถอยร่นของระดับนํ้าทะเล โดยมีพื้นที่ศึกษาเน้นไปยังพื้นที่ทีมีความสูงระหว่าง 2-4 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเลปานกลางปัจจุบัน ตัวอย่างตะกอนจากพื้นที่ศึกษา 10 แห่ง ซึ่งเจาะด้วยความลึกระหว่าง 2-4 เมตรนั้น ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ลักษณะตะกอน และส่วนหนึ่งถูกนำ ไปตรวจอายุด้วยวิธีการเรืองแสงความร้อน ผลการศึกษาทำ ให้ทราบว่าลำดับและรูปแบบของชั้นตะกอนในที่ราบภาคกลางตอนล่างมีลักษณะเหมือนกันเกือบทั้งพื้นที่ นั่นคือตะกอนช่วงล่างเป็นตะกอนนํ้ากร่อย/ตะกอนสมุทร และตะกอนช่วงบนนั้นเป็นตะกอนดินเหนียวนํ้าจืดของที่ราบนํ้าท่วม ผลจากการกำหนดค่าอายุด้วยวิธีการเรืองแสงความร้อน แสดงให้เห็นว่าตะกอนดินเหนียวนํ้าจืด มีอายุอยู่ในช่วง 2,200-1,200 ปีมาแล้ว อันเป็นระยะเวลาที่ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลาระหว่าง 1,800-1,500 ปีมาแล้วนั้น บริเวณฝั่งตะวันตกของที่ราบยังคงได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของทะเลตื้นในพื้นที่ทีมีความสูงระหว่าง 2-4 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเลปานกลางปัจจุบัน และบริเวณฝั่งตะวันออกของที่ราบยังคงได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของทะเลตื้นในพื้นที่ทีมีความสูงระหว่าง 2-2.5 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเลปานกลางปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อกระบวนการถอยร่นของระดับนํ้าทะเลที่เกิดขึ้นระหว่าง 1,600-1,200 ปีมาแล้วนั้น ได้ส่งผลให้เกิดกระบวนการนํ้าจืดจากแผ่นดินเข้ามาทะเลพื้นที่ทะเลตื้นเดิมในพื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบ และยังส่งผลให้แนวชายฝั่งทะเลโบราณขยับลงมาทางทิศใต้ ซึ่งอาจจะอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในพื้นที่ทางใต้ของอำเภอสามพรานของจังหวัดนครปฐม และอำเภอลำลูกกาของจังหวัดปทุมธานี

References

ผ่องศรี วนาสิน และทิวา ศุภจรรยา. เมืองโบราณบริเวณชายฝั่งทะเลเดิมที่ราบภาคกลางประเทศไทย: การศึกษาตําแหน่งที่ตั้งและภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.

Sin Sinsakul. “Evidence of Quaternary Sea Level Changes in the Coastal Areas of Thailand”. A Review, Journal of Southeast Asian Earth Sciences, 1992.

Sin Sinsakul. “Late Quaternary Geology of the Lower Central Plain, Thailand.” Journal of Asian Earth Sciences 18, 2000.

Somboon Jarupongsakul. “Palynological study of the recent marine sediment of the Gulf of Thailand.” Journal of Southeast Asian Earth Science 4, 1990.

White, J.C. Penny, DKealhofer, L. and Maloney, B.. Vegetation Changes from the late Pleistocene through the Holocene from three areas of archaeological significance in Thailand. Quaternary International, 2004.

Wickanet Songtham, Watanasak M., Insai P.. “Holocene Marine Crabs and Further Evidence of a Sea-level Peak at 6,000 year BP in Thailand.” In: Proceedings of the Thai-Japanese Geological Meeting-The Comprehensive Assessments on Impacts of Sea-Level Rise, Department of Mineral and Resources, Thailand, 2000.

Umitsu M., et al. The Symposium on Geology of Thailand. 26-31 August, 2002, Bangkok, Thailand, 2002.

Downloads