การจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงโหยหาอดีต : กรณีศึกษาบ้านพิพิธภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • มงคลรัตน์ มหมัดซอและ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการ, พิพิธภัณฑ์, โหยหาอดีต, บ้านพิพิธภัณฑ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาการจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงโหยหาอดีตและการตีความและสื่อความหมายงานมรดกวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์เอกชน กรณีศึกษาบ้านพิพิธภัณฑ์ผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาเอกสาร การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าการจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงโหยหาอดีตของบ้านพิพิธภัณฑ์ เป็นการดำเนินงานที่ไม่ได้แสวงผลกำไรและดำเนินงานในลักษณะของครอบครัว มีการจัดการเชิงธุรกิจเพื่อหารายได้สนับสนุนการดำเนินงานในพิพิธภัณฑ์ นักท่องเที่ยวมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุที่ใช้ในการจัดแสดงได้ รูปแบบและเนื้อหามีการจัดทำโดยจำลองรูปแบบของตลาดในอีตสามารทำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำและสามารถตอบสนองความรู้สึกโหยหาอดีตของนักท่องเที่ยว ตามหลักของการตีความและสื่อความหมายงานมรดกวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

References

เอกสารภาษาไทย

พัฒนา กิตติอาษา (บรรณาธิการ). (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทย ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การ มหาชน).

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (2547). โครงการวิจัย และพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ระยะที่1 สร้างเครือข่ายและ สํารวจสภาพพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การ มหาชน)

เอนก นาวิกมูล. (2544). เที่ยวบ้านพิพิธภัณฑ์. กรุงเทพฯ: บริษัทสํานักพิมพ์แสงแดด จํากัด.

เอกสารภาษาอังกฤษ

Christina Goulding). An Exploratory study of age related vicarious Nostalgia and Aesthetic consumption. 29 Association for Consumer Research542 (2002).

Holbrook,Morris B.Nostalgia and consumption preferences: Some emerging patterns of consumer tastes. Journal of Consumer Research 246 (sep 1993).

Susan L.Holak, William J.Havlena. Nostalgia: An exploratory study of themes and emotions the nostalgic experience.19 Association for Consumer Research380 (1992).

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

“ปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทย: กรณีศึกษาบ้านใร่กาแฟ เก้า-เอ็ด-บอรก (เอกมัย).”

. ตุลาคม 2551.

“Nostalgia.” . ตุลาคม 2551.

Downloads