เครือข่ายทางสังคมในวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (2,120-1,250 ปีมาแล้ว)
คำสำคัญ:
เครือข่ายทางสังคม, การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม, การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, วัฒนธรรมโลงไม้บทคัดย่อ
การศึกษาเครือข่ายการทำและใช้โลงไม้ของวัฒนธรรมโลงไม้ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ในช่วง 2,120-1,250 ปีมาแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ภายในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกันของ
แหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมโลงไม้จำนวน 33 แห่ง โดยการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม ซึ่งวิเคราะห์จากความคล้ายคลึงของรูปแบบหัวโลงของโลงไม้จำนวน 204 โลง และตีความร่วมกับค่าอายุคาร์บอน-14 ของโลงไม้
ผลการศึกษาพบว่า 1) เครือข่ายรูปแบบหัวโลง 1A, 1B และ 5D เชื่อมโยงหนาแน่นมากที่สุด เครือข่ายรูปแบบ 2A, 2B, 5C, 6C และ 8D มีความหนาแน่นปานกลาง และเครือข่ายรูปแบบ 5F, 6A และ 6F เชื่อมโยงเบาบาง ดังนั้นความหนาแน่นของเครือข่ายสัมพันธ์กับความต่อเนื่องของการทำและใช้โลงไม้ รูปแบบหัวโลงที่มีเครือข่ายหนาแน่นถูกทำและใช้ต่อเนื่องหลายช่วงเวลา ส่วนรูปแบบหัวโลงที่มีเครือข่ายขนาดเล็กถูกทำและใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ 2) คนวัฒนธรรมโลงไม้ในลุ่มน้ำสาขาเดียวกันและต่างลุ่มน้ำสืบทอดภูมิปัญญาการทำโลงไม้ โดยลุ่มน้ำสาขาลาง แม่ละนา และของอาจเป็นกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกัน 3) แหล่งโบราณคดีที่มีค่าระดับความเป็นศูนย์กลางสูงมีรูปแบบหัวโลงที่หลากหลาย รวมทั้งรูปแบบหัวโลงดั้งเดิม มีโลงไม้จำนวนมากและพบ
ฟันตกแต่ง แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสังคมหลายกลุ่ม 4) ความต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงของค่าอายุคาร์บอน-14 ของรูปแบบหัวโลง ทำให้ทราบเบื้องต้นว่าอาจมีพลวัตของเครือข่ายการทำและใช้โลงไม้ และ
5) วัฒนธรรมโลงไม้ในช่วง 1,700 ปีมาแล้ว มีการติดต่อกับกลุ่มสังคมใหม่ เครือข่ายอาจขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากพบรูปแบบหัวโลงรูปแบบใหม่ที่ต่างไปจากรูปแบบที่พบทั่วไป
References
ภาษาไทย
จักรินรัฐ นิยมค้า และเชิดศักดิ์ ตรีรยาภิวัฒน์, 2543. “การวิเคราะห์รูปแบบโลงไม้และหัวโลง.” ใน รัศมี ชูทรงเดช และคณะ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของโครงการสำรวจและจัดระบบฐานข้อมูลถ้ำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เล่มที่ 4: ด้านโบราณคดี (หน้า 73-93). เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นาฏสุดา ภูมิจำนงค์, 2550. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในเขตอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่สอง (เล่มที่ 5: ด้านวงปีไม้และสิ่งแวดล้อมโบราณ). เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ผาสุข อินทราวุธ, 2548. สุวรรณภูมิ จากหลักฐานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผาสุข อินทราวุธ, สินชัย กระบวนแสง และพเยาว์ นาคเวก, 2536. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาร่องรอยอารยธรรมโบราณจากหลักฐานทางโบราณคดีในเขตจังหวัดลำพูน ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัศมี ชูทรงเดช, 2546. “วัฒนธรรมโลงไม้หรือโลงผีแมน: ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของแม่ฮ่องสอน?” ใน คน วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมโบราณบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 92-124). กรุงเทพฯ: โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน.
___________, 2559. วัฒนธรรมโลงไม้ไทยในบริบทอาเซียน. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
___________, 2564. “ผลการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์.” ใน รัศมี ชูทรงเดช และคณะ, รายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (เล่มที่ 2: ภาพรวมโบราณคดี) (หน้า 405-421). เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ภาษาอังกฤษ
Borgatti S. P., 2002. Netdraw network visualization. Massachusetts: Analytic Technologies.
Borgatti S. P., Everett M. G., and Freeman L. C., 2002. Ucinet 6 for windows: Software for social network analysis. Massachusetts: Analytic Technologies.
Borgatti S. P., Everett M. G., and Johnson J. C., 2013. Analyzing social networks.
Los Angeles: SAGE.
Brughmans T., 2013. “Thinking through networks: A review of formal network methods in archaeology.” Journal of Archaeological Method and Theory, no. 20: 623-662.
Grave P., Spies J., Barbetti M., and Hotchkis M., 1994. Dating the log coffins of Northwest Thailand. Chiang Mai: Paper presented at the 15th Congress of the Indo-Pacific Prehistory Association conference, 5-12 January 1994.
Mills B. J. et al., 2013. “Transformation of social networks in the late pre-hispanic US Southwest.” Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America 110 (15): 5785-5790.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ดำรงวิชาการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นผลงานของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว และ/หรือเป็นผลงานของข้าพเจ้าและผู้ร่วมงาน ตามชื่อที่ระบุในบทความจริง และเป็นผลงานที่มิได้ถูกนำเสนอหรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน