ชื่อวัดสำคัญในประเทศอินเดีย: การศึกษาโครงสร้างและความหมายตามมุมมองทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์

ผู้แต่ง

  • ดร.ระวี จันทร์ส่อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภารตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีเมล: raweejan@gmail.com
  • พงศธร สุรินทร์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาไทย) คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก อีเมล: tour.pst@gmail.com

คำสำคัญ:

วัดสำคัญ, ประเทศอินเดีย, อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “ชื่อวัดสำคัญในประเทศอินเดีย: การศึกษาโครงสร้างและความหมายตามมุมมองทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและความหมายที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าสำคัญของชื่อวัดสำคัญในประเทศอินเดียตามมุมมองทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลชื่อวัดสำคัญในประเทศอินเดีย โดยใช้วิธีค้นหาจากเว็บไซต์ https://www.google.co.th/maps/ ต่อมาใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 360 ชื่อ ผลการศึกษาพบว่า ด้านโครงสร้างของชื่อวัดสำคัญในประเทศอินเดีย พบเฉพาะโครงสร้างขยาย ส่วนด้านวงความหมายของชื่อวัดสำคัญในประเทศอินเดีย พบทั้งหมด 10 วงความหมาย ได้แก่ 1) วงความหมายที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 2) วงความหมายที่เกี่ยวกับสถานที่ 3) วงความหมายที่เกี่ยวกับผู้ให้กำเนิดและนักบวช 4) วงความหมายที่เกี่ยวกับวัตถุและสิ่งของ 5) วงความหมายที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะ 6) วงความหมายที่เกี่ยวกับธรรมชาติและพืชพันธุ์ไม้ 7) วงความหมายที่เกี่ยวกับความเป็นสิริมงคล 8) วงความหมายที่เกี่ยวกับผู้ปกครองเมือง 9) วงความหมายที่เกี่ยวกับสัตว์และสัตว์ในตำนาน และ 10) วงความหมายที่เกี่ยวกับตำแหน่ง จากการศึกษาโครงสร้างและวงความหมายสะท้อนให้เห็นคุณค่าสำคัญที่ปรากฏผ่านการตั้งชื่อวัดสำคัญ พบทั้งหมด 5 ประการ ได้แก่ 1) ความเชื่อทางศาสนาที่หลากหลาย 2) ระบบวรรณะที่ตรึงแน่นในสังคมอินเดีย 3) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการตั้งวัดสำคัญ 4) ฐานทรัพยากรทางธรรมชาติ และ 5) ตัวละครสำคัญในวรรณกรรมอินเดีย

References

ภาษาไทย

กุสุมา รักษ์มณี, 2547. สันสกฤตวิจารณา. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2565. “อุดมคติที่ปรากฏในตัวพระรามซึ่งสะท้อนให้เห็นในวาลมีกิรามายณะ.” วารสารวรรณวิทัศน์ 22 (1): 1-28.

ชนัญ วงษ์วิภา, 2552. เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการการท่องเที่ยววัฒนธรรม. นครปฐม: คณะวิทยาการจัดการและคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บำรุง คำเอก, 2558. พจนานุกรมฮินดี-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปฏิวัติ มาพบ, 2565. “ความเชื่อและพิธีกรรมในชุมชนอีสานที่มีภูมินามเกี่ยวข้องกับเรื่องคันธนาม.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมา สว่างศรี, 2559. เอกสารประกอบการสอน (017101) ภาษาฮินดีขั้นต้น 1. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผอบ จึงแสงสถิตพร และ นงเยาว์ ชาญณรงค์, 2565. “มนต์เสน่ห์อินเดีย.” วารสารรามคำแหงฉบับมนุษยศาสตร์ 41 (1): 235-260.

พระศรีรัตนมุนี (ขวัญรัก เกษรบัว) และคณะ, 2562. “ภูมินามวัดในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: การเปรียบเทียบการตั้งชื่อ.” วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 6 (4): 621-638.

ระวี จันทร์ส่อง, 2562. ภาษาสันสกฤต สำหรับบุคคลทั่วไป. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย สำนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนพล ชื่นค้า, 2564. “พิธีกรรมการนับถือตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทย.” วิทยานิพนธ์ศิลป

ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

สมหวัง แก้วสุฟอง, 2561. “การดำรงอยู่ของระบบวรรณะในสังคมอินเดีย.” วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา 14 (1): 115-134.

สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ, 2546. พระศรีมหาโพธิ์: จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

เสกสรรค์ สว่างศรี และ พงศธร สุรินทร์, 2565. “ชื่อสถานที่พักในเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย: มุมมองทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์.” วารสารมนุษยศาสตร์สาร 23 (1): 209-232.

เสกสรรค์ สว่างศรี, 2564. ภารัตศัพทโกศ: พจนานุกรมคำศัพท์ที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย. เชียงใหม่: ศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสกสรรค์ สว่างศรี, 2565. ตำราท่องไปในอินเดีย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อธิป จันทร์สุริย์, 2564. “มูเตลู: ความเชื่อกับการท่องเที่ยว.” วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม 20 (1): 220-240.

อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์, 2549. กว่าจะเป็นนักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิมา พงศ์ไพบูลย์, 2565. “พระศรีมหาอุมาเทวี : อาร์คีไทพ์ของความรักและความภักดี.” วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคติชนวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โอฬาร รัตนภักดี, 2564. “คุณค่าของภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดน่าน.” รายงานวิจัยวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาษาอังกฤษ

Agyekum, K., 2006. “The Sociolinguistic of Akan Personal Names.” Nordic Journal of African Studies 15 (2): 206–235.

Frake, C. O., 1980. Language and Culture Description. Stanford: Stanford Press.

Heshu, L., 2018. “An ethno semantic observation of names: a case study on mao naga personal names.” the eastern anthropologist 71 (1): 1-13.

Husain, M., 2014. Geography of India. New Delhi: McGraw Hill Education (India) Private Limited.

Ngo,T. D. H., 2016. “The Rise of the Hung Temple: Shifting Constructions of Place, Religion and Nation in Contemporary Vietnam.” Doctoral dissertation. In the Discipline of Anthropology, School of Social Sciences, University of Adelaide.

Ollennu, Y. A. A. et al., (2022). “A Sociolinguistic Analysis of Cloth Names among the Ga and Dangme People of Ghana.” Journal of Critical Studies in Language and Literature 3 (4): 36-53.

Raj, K., 2022. “Spread of hinduism and hindu temples in myanmar (former burma).” Monsoon journal 17 (1): 42-43.

Sotheavin, N., 2018. “A study of the names of monuments in angkor (cambodia).” Sophia University Rrpository for Academic Resources 10 (1): 13-68.

Tara N. D., 2003. Liberate the Mahabodhi Temple! Socially Engaged Buddhism, Dalit-Style. Oxford: Oxford University Press.

Xiaoxiao, L. & Numtong, K., 2023. “A Study about Naming of Thai-Chinese Temple.” Chinese Language and Culture Journal 9 (2): 237–252.

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

รัตนาวดี โสมพันธ์, 2566. ชวนสายมูเที่ยวอินเดีย ไหว้เทพฮินดู 9 วัด นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขา. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567, จาก https://cmu.to/vU2kQ

ส. พลายน้อย, 2559. หนุมาน: เทพแห่งสรรพวิทยา. ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2566, จาก https://cmu.to/3y9ip

Sangkae, 2552. บัว: ราชินีแห่งไม้น้ำ. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2566, จาก https://cmu.to/vbXsa

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24