การกำหนดอายุผ้าผะเหวดโบราณวัดป่าสักดาราม จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ผ้าผะเหวด, เวสสันดรชาดก, วัดป่าสักดาราม, จังหวัดร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการหนึ่งเพื่อตรวจสอบการกำหนดอายุสมัยของผ้าผะเหวดโบราณวัดป่าสักดาราม จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจะบ่งบอกถึงประวัติความเป็นมาของผ้าผะเหวดผืนนี้ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยใช้วิธีการศึกษารูปแบบศิลปะและวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับงานศิลปกรรมในแหล่งต่างๆ
ผลการศึกษาพบว่าผ้าผะเหวดโบราณผืนนี้มีรูปแบบศิลปกรรมผสมผสานระหว่างงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีกับอิทธิพลศิลปะตะวันตกและความเป็นท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นถึงฝีมือช่างท้องถิ่นอีสาน ดังที่ช่างมีอิสระเลือกสรรเหตุการณ์ในฉากกัณฑ์ต่างๆ ของพระเวสสันดรชาดกมาเขียนภาพเล่าเรื่องลงบนผืนผ้าครบทั้ง 13 กัณฑ์ โดยยึดเอาสถานที่เป็นหลักและคำนึงถึงห้วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับฉากวิถีชีวิตจึงเขียนภาพเอาไว้ในพื้นที่เฉพาะ แสดงถึงความสมจริงในมิติของเรื่องราวตามหลักสัจนิยม นอกจากนี้ปรากฏภาพต้นกัลปพฤกษ์มีลักษณะคลี่คลายไปจากงานช่างในครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25 แต่การแต่งกายของบุรุษและสตรีรวมไปถึงเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ มีลักษณะนิยมตามยุคสมัยในรัชกาลที่ 6 ถึงต้นรัชกาลที่ 7 จึงควรกำหนดอายุผ้าผะเหวดโบราณผืนนี้อยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25
References
กรมศิลปากร, 2522. จดหมายเหตุการณ์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2518-2522. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ.
กฤตติยา ตันติกุล, 2559. “เครื่องแต่งกายทหารไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7 กับความมั่นคงของชาติ.” วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 7 (1): 39-45.
จิราพร ปิ่นสุวรรณบุตร, 2546. “การศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหาร วัดอุโบสถาราม ความสัมพันธ์กับชาวลาวในท้องถิ่น จังหวัดอุทัยธานี.” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เติม วิภาคย์พจนกิจ, 2546. ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนพร ตั้งพรทวี, 2559. “บทบาทของภาพถ่ายกับการเปลี่ยนแปลงงานจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 4.” การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นงนุช ภู่มาลี, 2558. “จิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างพื้นบ้านในเขตอีสานกลาง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2461. “เครื่องหมายแห่งความเจริญรุ่งเรืองคือสภาพแห่งสตรี.” ใน วิทยาจารย์. 15 พฤษภาคม.
พระมหากมลรัตน์ นนฺทสิริ, 2514. “ประวัติพระครูวิโรจน์รัตโนบล.” ใน ประวัติเมืองอุบลราชธานี และ ประวัติวัดทุ่งศรีเมือง. พระนคร: กรุงสยามการพิมพ์.
ไพโรจน์ สโมสร, 2532. จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534. บุญผะเวสของชาวอีสาน การวิเคราะห์และตีความหมายทางมานุษยวิทยา. ขอนแก่น: ห้องปฏิบัติการทางมานุษยวิทยาของอีสาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุทธนาวรากร แสงอร่าม, 2551. “พื้นถิ่นอีสานในงานจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุทธนาวรากร แสงอร่าม, 2555. ต้นกัลปพฤกษ์ในจิตรกรรมอีสาน. ศิลปากร, 55 (5): 20-35.
สันติ เล็กสุขุม, 2548. จิตรกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 3 : ความคิดเปลี่ยน การแสดงออกก็เปลี่ยนตาม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา, 2542. การแต่งกายสตรีกับหัตถกรรมทอผ้าในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด, 2543. สิมที่มีฮูปแต้มจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: ประสานการพิมพ์.
อเนก นาวิกมูล, 2542. ภาพสยามของอองรี มูโอต์. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
อุทิศ เมืองแวง, 2548. วรรณกรรมผ้าผะเหวดโบราณร้อยเอ็ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
Thomas Kaiser, Leedom Lefferts and Martina Wernsdorfer. (2017). Devotion Image, Recitation, and Celebration of the Vessantara Epic in Northeast Thailand. Europe: University of Zurich.
ข้อมูลสัมภาษณ์
ฉลาด ไชยสิงห์, 2566. ครูเกษียณอายุราชการในหมู่บ้านท่าม่วง. สัมภาษณ์, 26 มกราคม.
พวงพร ศรีสมบูรณ์, 2566. กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร.
สัมภาษณ์, 25 มิถุนายน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ดำรงวิชาการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นผลงานของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว และ/หรือเป็นผลงานของข้าพเจ้าและผู้ร่วมงาน ตามชื่อที่ระบุในบทความจริง และเป็นผลงานที่มิได้ถูกนำเสนอหรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน