การศึกษารูปแบบประติมากรรมเหวัชระที่ปรากฏในศิลปะเขมร

ผู้แต่ง

  • ชัญธิกา มนาปี นักศึกษาปริญญาโท สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

เหวัชระ, วัชรยาน, ศิลปะเขมร

บทคัดย่อ

เหวัชระเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเทพผู้พิทักษ์หรือยิดัม เป็นเทพที่มีความสำคัญองค์หนึ่งในพุทธศาสนา นิกายวัชรยาน มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนา ปรากฏความเชื่อและการนับถือขึ้นเป็นครั้งแรกในอินเดีย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 สมัยราชวงศ์ปาละ ในประเทศอินเดียเองมีการสร้างประติมากรรมเหวัชระอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศเนปาล และประเทศทิเบต ที่นับถือนิกายวัชรยานเช่นกัน สำหรับในประเทศกัมพูชาพบว่าประติมากรรมเหวัชระนิยมสร้างในศิลปะนครวัดและแพร่หลายในศิลปะบายน มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 พบทั้งรูปแบบกปาละธรและศาสตราธร ทำขึ้นจากวัสดุหลากหลายประเภท เช่น สำริด หิน และงาช้าง ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 การนับถือเหวัชระมีความสำคัญต่ออาณาจักรเขมร โดยเห็นได้จาก 1) รูปแบบทางศิลปะของประติมากรรมเหวัชระในนครวัดที่หลากหลายมากกว่าที่พบในอินเดีย 2) ลักษณะทางประติมานวิทยาของประติมากรรมเหวัชระในนครวัดที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของศิลปะเขมร 3) ประติมากรรมเหวัชระในนครวัดบางชิ้นที่มีขนาดใหญ่เกินจริง

 

References

ผาสุข อินทราวุธ, 2543. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย. วรรณวิภา สุเนต์ตา, 2546.

คติรัตนตรัยมหายานในศิลปะเขมรช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ที่พบในภาคกลางของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผาสุข อินทราวุธ, 2548. ชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรกัมพูชา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มติชน.

หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, 2535. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ. 2000. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งแสงการพิมพ์ จํากัด.

หม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, 2543. กัมพูชาราชลักษมีถึงศรีชยวรมัน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มติชน.

Bunker E.C. & Latchford D.A.J., 2004. Adoration and Glory: The Golden Age of Khmer Art. Chicago, IL: Art Media Resources.

Chutiwongs N., 1984. The Iconography of Avalokitasvara in Mainland South East Asia. Bangkok: s.n.

Clark J. (ed.), 2007. Bayon New Perspective. Bangkok: River Books.

Getty A., 1962. The Gods of Northern Buddhism: Their History, Iconography and Progressive Evolution Through the Northern Buddhist Countries. Rutland, Vt.: Charles E. Tuttle.

Huntington J.C. & Bangdel D., 2003. The Circle of Bliss: Buddhist Meditational Art. Chicago: Serindia Publications; Columbus: Columbus Museum of Art.

Huntington S.L., 1984. The “Pala-Sena” Schools of Sculpture. Leiden: E.J. Brill.

Jessup H.I. & Zephir T. (eds.), 1997. Sculpture of Angkor and Ancient Cambodia Millennium of Glory. Washington: National Gallery of Art.

Saraswati S.K., 2003. Tantrayana Art: An Album. Kolkata: Asiatic Society.

Sharrock P.D., 2006. The Buddhist Pantheon of the Bàyon of Angkor: An Historical and Art Historical Reconstruction of the Bàyon Temple and Its Religious and Political Roots. Doctoral dissertation. University of London.

Sharrock P.D., 2009. “Hevajra at Bantéay Chmàr.” The Journal of the Walters Art Museum 64/65 (2006/2007) (published 2009).

Sharrock P.D., 2013. “The Tantric Roots of the Buddhist Pantheon of Jayavarman VII.” In M.J. Klokke & V. Degroot (eds.), Materializing Southeast Asia’s Past. University of Hawai’i Press, Hawai’i.

Bust of Hevajra, 2014. Retrieved December 20, 2014, from http://www.metmuseum.org/collection/the-collection-online/search/38304

Dancing Hevajra, 2014. Retrieved December 12, 2014, from http://www.artic.edu/aic/collections/artwork/148419

Hevajra Mandala, 2014. Retrieved December 10, 2014, from http://www.artgallery.nsw.gov.au/collection/works/1.2001/

Seated Buddha Protected by Naga (front), Dancing Multi-Headed Hevajra (back), 2015. Retrieved May 16, 2015, from http://www.metmuseum.org/art/collection/search/64926

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30