สถานภาพและบทบาทของสตรีเพศ ตามแนวจริยศาสตร์ทางศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาสถานภาพและบทบาทของสตรีเพศตามแนวจริยศาสตร์ทางศาสนาที่ต่างกัน ในอดีตมีการยกย่องเพศชายหรือ
เพศหญิงให้เป็นใหญ่กว่าอีกฝ่าย การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามพัฒนาการของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ในปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องถึงสถานภาพและบทบาทสตรีมากขึ้น เพราะอิทธิพลของโลกตะวันตก ในรูปแบบของการรณรงค์ บทความ เอกสาร งานวิจัย การประชุม อภิปรายอย่างจริงจัง มีผู้เสนอทฤษฎีสตรีนิยม (Feminism) และมีการเรียกร้องสิทธิสตรีในรูปแบบต่างๆ เช่น บทเพลง บทละคร เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนำแนวคิดทฤษฎีทางตะวันตกที่มีฐานจากวัตถุนิยมมาอธิบาย
นักสตรีนิยมปฏิเสธการตีความเรื่องบทบาทชายและหญิงในหลายศาสนาที่เห็นว่ามีความไม่เท่าเทียมกันมาแต่เกิด และมีสถานะทางสังคมไม่เท่ากัน โดยพยายามที่จะสร้างความเท่าเทียมทางเพศ (Gender equality) เช่น เสนอทัศนะว่าเพศหญิงและชายมีความเท่าเทียมกันในสังคม รัฐที่ดีจะต้องสร้างสิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันทั้งสองเพศ และการมีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเมืองที่ไม่แตกต่างกัน หลักการของสตรีนิยมนี้สอดคล้องกับทัศนะปรัชญาอัตถิภาว นิยมของ ฌ็อง ปอล ซาร์ตที่ว่า “เราเกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ และเราต้องรับผิดชอบต่อคุณค่าทั้งสิ้นในสิ่งที่เราได้เลือก” การศึกษาถึงสถานภาพของสตรีในด้านข้อเท็จจริงที่มีมาจากคำสอนหรือคัมภีร์ทางศาสนาหลักๆ เป็นพื้นฐานแบบจิตนิยม ในขณะที่ทัศนะทางจริยศาสตร์สนใจแนวคิดการแบ่งเพศ การแบ่งหน้าที่ระหว่างเพศ เพราะการตีความเรื่องเพศในแต่ละยุคสมัยมีผลต่อเรื่องคุณค่าของมนุษย์และปฏิบัติต่อกันในฐานะมนุษย์
Article Details
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
คัมภีร์พระเวท. 2533. จัดพิมพ์โดยอาจารย์เทพ สาริกบุตร. พระนคร: อุตสาหกรรมการพิมพ์.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. 2555. เพศสภาพศึกษา (Online) เข้าถึงได้จาก: http://www.soc.cmu.ac.th/wsc/gs.htm. 2549.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. 2534. พระพุทธศาสนาเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. 2557. สตรีกับคัมภีร์ตะวันออก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พกุล พัฒน์ดิลก แองเกอร์. 2553. วิถีแห่งอภิปรัชญาและญาณปรัชญาสู่การศึกษาจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พระคริสตธรรมคัมภีร์. 1988. ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971. กรุงเทพฯ:สมาคมพระคริสตธรรมไทย.
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. 2514. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน. พร้อมความหมายภาษาไทย. 2555. โดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์กษัตริย์ ฟะสัต.
สมชาย สุขการค้า. 2546. ภาษาจีน 4. กรุงเทพ : มปพ.
Beauvoir Simone De. 1949. The Second Sex. Translated by H.M.Parshley.USA.: Vintage Books.
Hawkes and Woodley. 1963. Prehistory and the Beginnings of Civilization. London: George Allen@Unwin.
Knudesen wieth. 1947. Women in Christian Churches. London: Whittleesey House, McGraw-hill Book Co.,Inc.
Raychandhuri and Datta. 1967. An Advance History of India. New York: St.Martin Press.
Reyna, R.. 1971. Introduction to Indian Philosophy. New York: MC-Graw Hill.
Stone, Mwelin. 1976. When God was a Woman. New York: Spence Publishing.
Sarte, Jean-Paul. 1970. Existentialism and Humanism. Paris : Nagel.
Shaw, B.. 1988. Bernard Shaw and Woman. USA: Pennsylvania State University Press.