การศึกษาวิเคราะห์จตุษโกฏิประเภทยืนยันของพระนาคารชุนในคัมภีร์ มูลมัธยมกการิกา

Main Article Content

เนาวรัตน์ พันธ์วิไล

บทคัดย่อ

การโต้เถียงเพื่อแสดงทัศนะของสำนักตนต่อสำนักอื่นเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในสมัยพุทธกาล ต่อมาในยุคหลังพุทธกาล สำนักมัธยมกะได้สร้างวิภาษวิธีแบบจตุษโกฏิขึ้นมา เพื่อประกาศทัศนะของตนและหักล้างคำสอนของสำนักอื่นๆ ที่เชื่อว่าขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้า บทความนี้มุ่งศึกษาทัศนะของสำนักมัธยมกะที่ปรากฏในคัมภีร์มูลมัธยมการิกาว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำนักมัธยมกะยืนยันคืออะไร และมีความสมเหตุสมผลตามกฎทางตรรกวิทยาหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาในโศลกที่ 18.8 เป็นเพียงโศลกเดียวที่กล่าวยืนยันคำสอนของพระพุทธเจ้า ผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างประโยคจตุษโกฏิประเภทยืนยันดังกล่าวด้วยระบบตรรกวิทยาประยุกต์พบว่า เนื้อหาในประโยคทั้ง 4 โกฏิไม่ขัดกับกฎทางความคิด (Law of Thought) ซึ่งเป็นกฎมูลฐานทางตรรกวิทยา และเมื่อเทียบประพจน์ทางตรรกวิทยาแล้วพบว่า เนื้อความระหว่างโครงสร้างประยุกต์กับเนื้อหาในคัมภีร์มูลมัธยมกการิกามีความสมมูลกันหรือเท่ากันทุกประการ กับเนื้อหาที่สำนักมัธยมกะยืนยันว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าคือ เรื่องความจริง
ของสรรพสิ่งซึ่งยืนยันว่าทั้งเป็นจริงและไม่จริงและเป็นจริงก็ไม่ใช่ ไม่เป็นจริงก็ไม่ใช่


ความจริง 2 ที่ปรากฏพร้อมกันนี้เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่คำตอบของการยืนยันทัศนะของพระนาคารชุน เพราะเมื่อพิจารณาแยกประเด็น พบว่า ความจริงที่ปรากฏพร้อมกัน 2 ประการนั้น มีแนวคิดเรื่องความจริง 2 ระดับในพระพุทธศาสนารองรับอยู่ กล่าวคือ การเข้าถึงความจริงสูงสุดหรือความจริงในทัศนะของพระนาคารชุนจำเป็นต้องอาศัยความจริง 2 อย่างคือ สัมวฤติสัตยะ (สมมติสัจจะ) และปรมารถสัตยะ (ปรมัตถสัจจะ) ซึ่งความจริงทั้งสองนี้ทำให้ทัศนะของพระนาคารชุนในจตุษโกฏิประเภทยืนยันข้างต้นมีความชัดเจนขึ้นทันที เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวว่า สรรพสิ่งทั้งไม่จริงและไม่ใช่ไม่จริงก็ไม่ใช่ มีนัยยะที่จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมคือ สรรพสิ่งเป็นจริงที่พระนาคารชุนอ้างถึงนั้น มีนิยาม 2 ระดับคือ สรรพสิ่งที่จริงในระดับสมมติหรือจริงในระดับปรมัตถ์ ซึ่งความจริงทั้งสองระดับมักปรากฏอยู่อย่างอิงอาศัยกัน สอดคล้องกับแนวคิดหลักของพระพุทธศาสนาเรื่องปรตีตยสมุตปาทะหรือปฏิจสมุปบาท

Article Details

How to Cite
พันธ์วิไล เนาวรัตน์. 2018. “การศึกษาวิเคราะห์จตุษโกฏิประเภทยืนยันของพระนาคารชุนในคัมภีร์ มูลมัธยมกการิกา”. ธรรมธารา 4 (2):133-61. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/146874.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

กฤษฎา ภูมิศิริรักษ์. 2554. การศึกษาเชิงวิเคราะห์การให้เหตุผลแบบวิภาษวิธีในคัมภีร์มูลมัธยมการิกา.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เนาวรัตน์ พันธ์วิไล และ ธเนศ ปานหัวไผ่. 2560.“การวิเคราะห์วิธีตอบปัญหาอุภโตโกฏิ (ปัญหาสองเงื่อน) ในทัศนะของพุทธปรัชญา”วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม : 57-69.

พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย. 2558. “พระอรหันต์ปัญญาวิมุตต้องอาศัยฌานสมาบัติในการบรรลุธรรมหรือไม่” ธรรมธารา ฉ.1: 159 – 200.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2543. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ฟื้น ดอกบัว. 2555. ปวงปรัชญาอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. 2548. พระนาคารชุนกับคำสอนว่าด้วยทางสายกลาง. กรุงเทพ: ศยาม.

BOCHENSKI, I. M.. 1961. A History of Formal Logic. translated and edited by Ivo Thomas. University of Notre Dame Press, Notre Dame, Indiana. USA.

Dhammajoti K.L., Bhikkhu. 2007. Sarvāstivāda Abhidharma. 3rd Ed. Hong Kong: Centre of Buddhist Studies, The University of Hong Kong.

Jayatilleke, K.N.. 1963. Early Buddhist Theory of Knowledge. London: Allen & Unwin.

Monier-Williams, Monier, Sir. 1899. A Sanskrit-English dictionary: etymologically and philologically arranged with special reference to cognate Indo-European languages. Oxford: The Clarendon press.

Priest, Graham. 2010. The Logic of the Catusakoti. Comparative Philosophy Vol.1, No. 2: 24-54

Robinson, Richard. 1957. Some logical aspects of Nāgārjuna’s system. Philosophy East and West Vol. 6: 291-308.

Ruegg, David Seyfort. 1977. The use of the four positions of the Catuṣkoṭi and the problem of the description of reality in Māhāyana Buddhism. Journal of Indian Philosophy Vol.5: 1–171. cited in Westerhoff, Jan. 2009. Nāgārjuna’s Madhyamaka: A Philosophical Introduction. Oxford University Press.

Vasubandhu. 1988. Abhidharmakosabhasya. (English) Abhidharmako Sabhasyam, translated into French byLouis de La Vallee Poussin, English Version by Leo M. Pruden. Berkeley, California: Asian Humanities Press.

Westerhoff, Jan. 2009. Nāgārjuna’s Madhyamaka: A Philosophical Introduction. Oxford University Press.