การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ดร.อรพรรณ สุชาติกุลวิทย์

บทคัดย่อ

มุมมองของสังคมไทยในปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม ด้านความดี ความชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร มีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งมีผลมาจากความเชื่อ คำสอนทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีการดำเนินชีวิต ตลอดจนสภาพแวดล้อมของสังคมในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความเห็นต่างเชิงลบเรื่องศีลธรรมของผู้ใหญ่ในครอบครัว ส่งผลให้เยาวชนที่ได้รับการดูแล เลี้ยงดู มีทัศนคติเชิงลบตามไปด้วย ทำให้เยาวชนมีแนวโน้มประพฤติผิด ศีลธรรมมากขึ้น เช่น เกิดปัญหาด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การมีทักษะทางสังคมอันไม่พึงประสงค์ การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีตามหลักศีลธรรม ในระบบการศึกษา ควรเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ได้ดี ทั้งด้านความจำ และการปฏิบัติตาม เกิดเป็นรากฐานหยั่งลึก ในการเสริมสร้างกิจนิสัยที่มั่นคง ยั่งยืน บทความนี้เป็นผลจากการศึกษา ค้นคว้า ตำรา หนังสือ บทความ ทฤษฎี แนวคิด เชิงการพัฒนา ปลูกฝังคุณธรรม ของนักวิชาการตะวันตกและ หลักการ วิชาการพัฒนาศีลธรรม ให้เกิดขึ้นในบุคคลตามหลักพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทาง การส่งเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้


1. เกณฑ์การตัดสินด้านศีลธรรม เริ่มมาจากตนเอง โดยการควบคุม ทางจิต การกระทำและการพิจารณา เรียกว่า มโนธรรมสัมบูรณ์
โดยแนวคิดของค้านท์ (Kant) และประโยชน์นิยม มีความสอดคล้องกับหลักศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องการรักษาศีล ซึ่งมีความเป็นสากล และเหมาะสมกับการนำมาใช้พัฒนาเด็กระดับปฐมวัย


2. พัฒนาการของเด็กปฐมวัย เป็นไปพร้อมกันทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย บุคลิกภาพ จริยธรรม และสังคม


3. การส่งเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย มี 2 แนวทาง คือ 1) การใช้กิจกรรมพัฒนาทางกาย (ศีล) พัฒนาจิต (สมาธิ) พัฒนาปัญญา และ 2) การเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เน้นที่อยู่อาศัยให้สะอาด เป็นระเบียบ มีความมั่นคงปลอดภัย โดยมีหลักการสำคัญคือ การเริ่มต้นที่ตัวเด็กเอง ฝึกนิสัยให้เกิดความคุ้นเคยกับหลักธรรม เกิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพและสังคม เด็กต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครอง ด้วยการให้อาหารใจ 6 ประการ คือ 1) ความรักความอบอุ่น 2) ความเข้าใจลูกตามวัย 3) การส่งเสริมด้วยคำชม งดคำตำหนิที่รุนแรง 4) การให้ความเป็นอิสระ 5) การเสริมสร้างบรรยากาศในครอบครัวที่สงบสุขบนพื้นฐานความยุติธรรม และ 6) การอบรมดูแลอย่างถูกวิธีสรุปได้ว่า แม้ว่ามนุษย์จะมีความแตกต่างทางความเชื่อ การนับถือศาสนา และอุดมการณ์ในการดำรงชีวิตด้านศีลธรรมหรือข้อประพฤติปฏิบัติที่เหมาะสมของตนเองแต่จะมีเกณฑ์การตัดสินทางศีลธรรม ในลักษณะคล้ายคลึงกัน เปรียบเสมือนการมีจุดร่วมเดียวกันบนฐานที่มาจากความหลากหลายที่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
สุชาติกุลวิทย์ ดร.อรพรรณ. 2018. “การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย”. ธรรมธารา 4 (2):101-31. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/148492.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

กรุงเทพธุรกิจ. 2561. เผยเด็กติดยาพุ่ง 3 แสนคน-ท้องก่อนวัยปีละ 1.5 แสน. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2561 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/788466

ธารารัตน์ ชิญช้าง. ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอิริคสัน (Erikson). ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561 https://sites.google.com/site/thvsdiphathnakardekpthmway/thvsdi-thi-keiywkhxng-kab-phathnakar-dek-pthmway/thvsdi-phathnakar-thang-bukhlikphaph-khx-ngxi-rikh-san-erikson

นงพงา ลิ้มสุวรรณ. 2558. เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). 2551. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11

พระศีรคัมภีรญาณ (สมจินต์ วันจันทร์). 2559. จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา . พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ภัทธิดา แรงทน. 2560. รูปแบบการพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณต์ามหลักพุทธธรรมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. Ph.D. diss., มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มติชนออนไลน์. 2560. เด็กไทยวันนี้ นักวิชาการจุฬา แฉสถานการณ์เด็กไทยมีปัจจัยเสี่ยง 10 ด้าน ไทยมีปัจจัยเสี่ยง 10 ด้าน ‘ความรุนแรง-แม่วัยใส-ยาเสพติด’. ค้นเมื่อ 9 กันยายน

มติชนออนไลน์. 2561. https://www.matichon.co.th/education/news_418603

มัณฑรา ธรรมบุศย์. 2561. ทฤษฎีการเรียนรู้ของวีก็อทสกี้. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม

https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-phathnakar/thvsdi-kar-reiyn-ru-khxng-wi-kx-th-ski

มัณฑรา ธรรมบุศย์. 2561. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561. https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-phathnakar/thvsdi-phathnakar-thang-criythrrm-khxng-khol-beirk

วิทย์ วิศทเวทย์. 2532. จริยศาสตร์เบื้องต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์.

ส.ผ่องสวัสดิ์. 2549. คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ ภาค ครอบครัวอบอุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

DOU. 2548. GB101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย

James W. Gray. 2010. A Free Introduction to Moral Philosophy. Accessed November, 2018. https://ethicalrealism.wordpress.com/